รู้จักไข่ไก่ ประโยชน์ และวิธีกินให้ดี คอเลสเตอรอลไม่เกิน

 

รู้จักไข่ไก่ ประโยชน์ และวิธีกินให้ดี คอเลสเตอรอลไม่เกิน

ไข่ไก่ นับว่าเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารที่สามารถหาได้ง่ายมากที่สุด และยังนับว่าเป็นเมนูที่เรามักจะนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เวลาหิว หรือในช่วงเวลาต่างๆ ที่มีอยู่หลากหลายเมนูด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ไข้ต้ม ไข่ลวก ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ตุ๋น หรืออื่นๆ ซึ่งเมนูที่กล่าวมานั้นก็เป็นเมนูง่ายๆ ทำได้ไม่ยาก ซึ่งโดยปกติแล้วคนเรามักจะนึกว่าการรับประทานไข่ไก่ในปริมาณมากๆ จะไม่ดีต่อร่างกาย เพราะอาจทำให้เกิดการสะสมของคอเรสเตอรอลที่เป็นอันตรายได้โดยมักพบในไข่แดง หากว่าวันใดวันหนึ่งคอเรสเตอรอลเกิดสะสมมากขึ้น แล้วเข้าไปเข้าอุดตันในเส้นเลือด สุขภาพของเราก็จะแย่ ถึงกับขนาดที่มีคนออกมาบอกว่าเราไม่ควรรับประทานไข่ไก่กันเกินวันละ 2 ฟอง หรือ 5 ฟองต่อสัปดาห์ เพื่อป้องกันสุขภาพของเราเอาไว้ก่อน หรือมีการแนะนำว่าให้รับประทานไข่ขาวแทนไข่แดง ซึ่งต้องบอกว่าไข่แดงนี่แหละคือส่วนที่อร่อยที่สุด ยังไงก็พลาดไม่ได้ วันนี้เราก็เลยจะมาขออธิบายว่าการบริโภค ไข่ไก่ ไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด ยังมีวิธีการบริโภคไข่ไก่ให้ดีต่อสุขภาพได้ มาเรียนรู้ไปพร้อมกันเลยดีกว่า

สารอาหารสำคัญในไข่ไก่

ไข่ไก่ ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ เปลือกไข่ เป็นเปลือกแข็งห่อหุ้มด้านนอก, ไข่ขาว มีลักษณะเหลวใส หรือสีเหลืองอ่อนห่อหุ้มไข่แดง และไข่แดง เป็นทรงกลมมีสีส้ม หรือแดง อยู่ตรงกลาง ซึงภายในไข่ไก่จะอุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพสูง เป็นโปรตีนที่มีประสิทธิภาพในการดูดซึม ทำให้ร่างกายนำไปใช้งานได้ง่าย โดยมีส่วนประกอบของวิตามินเอ, ดี, อี, เค, บี 16, บี 12, โฟเลต และแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะ ไรโบฟลาวิน, ฟอสฟอรัส และเหล็ก ที่ช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างเม็ดเลือดได้มากขึ้น อีกทั้งเนื่องด้วยไข่ไก่เป็นอาหารที่สามารถย่อยได้ง่ายจึงมีความนิยมนำไปปรุงเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วย นอกจากนั้น ยังมีส่วนประกอบสำคัญ อย่าง เลซิธิน ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพราะส่วนสำคัญของสมอง คือ เลซิธิน หากว่าสมองเกิดความไม่สดใส มีอาการเหนื่อยล้า จะต้องทำการเสริมเลซิธินที่มีอยู่ในไข่แดง สามารถช่วยบำรุง ฟื้นฟูความสดใสให้กับสมองได้ อีกท้งสำหรับผู้ที่ต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ไข่ไก่ก็เป็นอาหารที่ดีที่ช่วยคลายความเครียด บรรเทาความเมื่อยล้า และฟื้นฟูกำลังของเราได้

 
 

ไข่ไก่ 1 ฟองประกอบด้วยอะไรบ้าง

ไข่ไก่ 1 ฟองจะมีน้ำหนักประมาณ 50 กรัม โดยปริมาณของเปลือกไข่คิดเป็น 10% ไข่แดง 30% และไข่ขาว 60% ซึ่งในไข่ไก่ 1 ฟองให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่ มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 5 กรัม มีคอเลสเตอรอลประมาณ 212 - 214 มิลลิกรัม ซึ่งสมาคมหัวใจของสหรัฐอเมริกา (AHA) แนะนำว่าให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจไม่ควรรับประทานไข่ไก่เกินวันละ 1 ฟอง เพราะในไข่ไก่ 1 ฟองมีปริมาณคอเลสเตอรอลเกินกว่า 200 มิลลิกรัม แต่สำหรับคนปกติที่มีร่างกายแข็งแรงสามารถบริโภคไข่ไก่ได้ 1 - 2 ฟองอย่างไม่มีปัญหา

ในไข่ไก่ 1 ฟองจะมีไขมันประมาณ 5 กรัม ซึ่งไขมันเกือบทั้งหมดอยู่ในไข่แดง ส่วนในไข่ขาวพบไขมันได้น้อยมาก เป็นไขมันอิ่มตัวประมาณ 1.6 กรัม หรือคิดเป็น 30% ของไขมันทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ไตรกลีเซอไรด์ ที่เป็นแหล่งของพลังงาน ประมาณ 65% ฟอสโฟลิปิด ที่เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ประมาณ 30% และส่วนที่เป็นคอเลสเตอรอลที่มีอยู่เพียง 5% เท่านั้น นับว่าเป็นคอเลสเตอรอลที่ดี (High-density lipoprotein : HDL)

ไขมันในไข่ไก่ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว

ผู้คนส่วนใหญ่ไม่กล้าบริโภคไข่มากเกินไป เพราะกลัวปัญหาเรื่องของไขมันและคอเลสเตอรอลที่มีอยู่ในไข่ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วคอเลสเตอรอลนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายมากพอสมควร โดยเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเสตอรอยด์ อย่าง ฮอร์โมนเพศรวมถึงฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมในเรื่องของความเครียด หากไม่มีคอเลสเตอรอลเข้ามาหล่อเลี้ยง เราก็จะทนกับความเครียดได้ไม่มาก ส่วนคนไหนที่กำลังสงสัยว่าตัวเองนั้นมีคอเลสเตอรอลสูงอยู่แล้วไปทานเพิ่มขึ้นอีก ก็อาจจะทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มขึ้นตามไปด้วยรึเปล่า ? ต้องขอทำความเข้าใจก่อนว่า คอเลสเตอรอลที่ตรวจหาจากการเจาะเลือดนั้นมาจาก 2 ทาง คือ คอเลสเตอรอลที่สร้างจากตับ ประมาณ 75% และอีก 25% ก็มาจากอาหารการกิน ซึ่งการลดการรับประทานไข่ก็ไม่ได้ทำให้คอเลสเตอรอลลดต่ำลง เพียงแต่ 75% ของคอเลสเตอรอลที่มาจากตับนั้นเกิดจากการบริโภคคาร์โบไฮเดรตเกินไป เช่น ข้าว ขนมปัง หรือน้ำตาล โดยอาหารเหล่านี้จะถูกส่งไปสังเคราะห์ที่ตับจนกลายเป็นคอเลสเตอรอล และสะสมเป็นไขมันในตับ รวมถึงสะสมในช่องท้องนำไปสู่ภาวะอ้วนลงพุงได้อีกด้วย

ไข่ไก่ 

กินไข่ไก่อย่างไรดีต่อสุขภาพ

การรับประทานไข่ไก่ควรทำให้สุกเสียก่อน อาจนำไปประกอบอาหารในรูปแบบไข่ต้ม ไข่ตุ๋น ไข่พะโล้ ซึ่งการประกอบอาหารประเภทต้มและตุ๋นจะให้ปริมาณไขมันที่น้อยกว่าอาหารประเภทอื่นๆ อาทิ ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย ซึ่งในการปรุงอาหารนั้นแนะนำว่าให้ใช้น้ำมันที่ไม่อิ่มตัว หรืออาจเป็นน้ำมันมะพร้าวก็ได้ ส่วนอาหารที่แนะนำให้ทำรับประทานเป็นอย่างยิ่ง คือ สลัดไข่ หรือยำไข่ เพราะจะทำให้ได้รับสารอาหารจากไข่ มีไฟเบอร์และวิตามินซีจากผัก และผลไม้อีกด้วย

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง คือ ขนมปังไข่ดาว ใส่เบคอนและไส้กรอก เพราะจะทำให้ได้รับปริมาณไขมันที่สูงจากเบคอน น้ำมันที่ใช้ทอด และเนยที่ใช้สำหรับทาหน้าขนมปัง รวมถึงแนะนำให้ทานไข่ไก่ หรือไข่ที่มีขนาดใหญ่อย่างไข่เป็ดมากกว่าไข่ที่มีขนาดเล็ก อย่าง ไข่นกกระทา โดยปริมาณคอเลสเตอรอลที่ในไข่ใบเล็กจะมีมากกว่าไข่เมื่อเทียบในปริมาณที่เท่ากัน

 
 
สำหรับคนทั่วไป การรับประทานไข่วันละ 1 ฟอง ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี โดยเฉพาะในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต รวมถึงผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องของฟันไม่สามารถรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนประเภทอื่นๆ ได้ แนะนำให้รับประทานเมนูไข่เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนแทนเนื่อสัตว์

นอกจากนั้นหากใครที่มีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง ในบางมื้ออาหารอาจหลีกเลี่ยงการทานไข่แดง แนะนำให้ทานเฉพาะไข่ขาวเท่านั้น อีกทั้งยังไม่ควรบริโภคไข่ไก่มากเกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมไขมันในเลือด ส่วนผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ อาจจะต้องงดทานเพื่อไม่ให้เกิดอาการแพ้ตามมา

รู้หรือไม่? ไข่ไก่มีดีกว่าที่คิด

  1. ไข่ไก่ มีประโยชน์ต่อเด็ก เพราะเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตสมวัย อีกทั้งยังให้พลังงานที่เพียงพอในแต่ละวันอีกด้วย
  2. โปรตีนที่มีอยู่ในไข่ไก่จะช่วยให้ผู้ใหญ่เสริมสร้างและซ่อมแซมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้มีชีวิตชีวา ดูสดชื่น และทำให้มีพลังงานไปหล่อเลี้ยงร่างกาย นอกจากนั้นยังช่วยทำให้รักษาเกณฑ์หนักทำให้มีสุขภาพที่ดี
  3. ไข่ไก่ มีสารอาหารสำคัญ 4 ประเภทที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ต้องการมากที่สุด ได้แก่ โคลีน โปรตีน โฟเลต และเหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็น เพราะจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของตัวอ่อนและพัฒนาการของเนื้อเยื่อประสาทที่ช่วยป้องกันการผิดปกติของทารกแรกเกิด
  4. ผู้สูงอายุมีความสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ไข่ไก่ จึงเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่ช่วยเติมเต็มความต้องการโปรตีนของผู้สูงอายุ ซึ่งมีส่วนช่วยรักษาการทำงานของกล้ามเนื้อ และชะลออัตราการสูญเสียกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี
  5. ไข่ไก่ ยังให้สารอาหารที่สำคัญอีก 2 ชนิด ในปริมาณที่ไม่มากนัก ได้แก่ ลูทีน และ ซีแซนทีน ซึ่งอยู่ในสารอาหารกลุ่มแคโรทีนอย (เหมือนกับเบต้าแคโรทีนในแครอท) โดยสารอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้ดีต่อดวงตา และช่วยป้องกันสาเหตุของโรคตาบอดเนื่องมาจากอายุที่มากขึ้น มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า ลูทีน ที่อยู่ในไข่ไก่มีประสิทธิภาพสูง หมายถึง อัตราการดูดซึมสูง ย่อยง่ายกว่าลูทีนที่มาจากแหล่งอื่นๆ

คราวนี้ก็เข้าใจตรงกันแล้วว่า ไข่ไก่ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดคอเลสเตอรอลสะสมในเส้นเลือด ทีนี้ก็หันมาเพิ่มโปรตีนให้กับร่างกายกันได้อย่างสบายใจแล้ว ส่วนเรื่องอาหารจำพวกแป้ง หรือน้ำตาลอาจไม่ต้องหยุด แต่ให้บริโภคเข้าไปในปริมาณที่พอดี หรืออยู่ในปริมาณที่น้อย เพื่อลดการทำงานของตับ แล้วก็อย่าลืมออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย

 

การเลี้ยงเป็ดไข่ 

 

การเลี้ยงเป็ดไข่ จะนิยมเลี้ยงพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์พื้นเมืองกับพันธุ์กากีแคมเบลล์  เพราะเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพอากาศ และให้ไข่ดกประมาณ  250 – 260  ฟอง / ปี  แต่มีข้อแนะนำคือ ควรหาซื้อพันธุ์จากฟาร์มที่ได้รับความน่าเชื่อถือ และไม่เคยเกิดโรคระบาดมาก่อน

การเลี้ยงเป็ดไข่

การเลี้ยงเป็ดไข่

เทคนิคการเลี้ยงเป็ดไข่

  • การเตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ควรทำความสะอาด ปรับพื้นคอก และโรยด้วยปูนขาวพร้อมพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทิ้งไว้ประมาณ  1 สัปดาห์  ต้องเป็นโรงเรือนที่กันแดด กันฝน มีอากาศถ่ายเทสะดวก ส่วนพื้นที่เป็นดินแข็งปนทราย ต้องแห้งอยู่เสมอ มีลานกว้าง เพื่อให้เป็ดได้วิ่งออกกำลังกายได้ และจัดที่ไว้ให้อาหารและน้ำ หรือ หากใครมีสถานที่อยู่ริมน้ำ ควรทำตาข่ายล้อมรอบกั้นเป็นเขต  เพื่อให้เป็ดได้ออกหาอาหารตามธรรมชาติ
การเลี้ยงเป็ดในครัวเรือน

การเลี้ยงเป็ดในครัวเรือน

 

  • การให้อาหาร ควรใช้หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว เพราะมีโปรตีนสูงเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของเป็ดไข่ คลุกเคล้าด้วยเครื่องผสมอาหาร ให้วันละ  3  ครั้ง  เช้า – เที่ยง – เย็น ซึ่งโดยเฉลี่ยจะตกอยู่ที่ 150 กรัมต่อตัวต่อวัน และต้องทำความสะอาดที่ให้น้ำก่อนทุกครั้ง และต้องมีน้ำให้เป็ดกินตลอดเวลา

อาหารเป็ด

 

  • สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในเป็ด อาทิ โรคอหิวาต์เป็ด-ไก่ โรค Duck Plague และหมั่นดูแลสุขภาพของเป็ดอย่างสม่ำเสมอ
  • เมื่อเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์ จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ  21 สัปดาห์ โดยจะออกไข่ตอนเช้ามืด  ตามแอ่งหรือมุมต่าง ๆ ที่อยู่ในคอก
  • การเลี้ยงเป็ดไข่จะเก็บไข่ขายได้ในระยะยาว กำไรดี เพราะเป็ดสามารถไข่ได้นานถึง  2  ปี หลังจากปลดระวางแล้ว  ก็ยังสามารถขายเป็นเป็ดเนื้อ เพื่อประกอบอาหารได้อีกด้วย

 

 

การใช้งานคู่มือการจัดการเลี้ยงดู

                ไก่ไข่สายพันธุ์ Hy-Line Brown จะสามารถแสดงศักยภาพตามพันธุกรรมประจำสายพันธุ์ที่มีอยู่ในตัวออกมาได้ ก็ต่อเมื่อฝูงไก่ได้รับการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสมรวมถึงการดูแลที่ดีเยี่ยม ซึ่งคู่มือการจัดการเลี้ยงดูฉบับนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลการจัดการเชิงปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จมาจากฐานข้อมูลของ Hy-Line International ที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก โดยแนวทางหรือข้อแนะนำสำหรับใช้ในการจัดการเลี้ยงดูฝูงไก่ตามที่แสดงในคู่มือ Hy-Line International Management Guides ได้นำหลักการในการจัดการเลี้ยงดูฝูงไก่มาจากคู่มือ Hy-Line Red Book และ Online Management Guide ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.hylineredbook.com

                ข้อมูลที่แสดงอยู่ในคู่มือ Hy-Line International Management Guides จะถูกทำการปรับปรุงพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าและผู้สนใจ สามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูล และได้รับข้อมูลที่มีความสดใหม่อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านประสิทธิภาพการผลิต และ/หรือข้อมูลในด้านโภชนะ ซึ่งการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว ควรนำไปใช้สำหรับเป็นแนวทางหรือนำไปใช้เพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเท่านั้น เนื่องจากผู้ใช้งานต้องตระหนักอยู่เสมอว่า สภาพแวดล้อมหรือสภาวะการเกิดและการแพร่ระบาดโรคในแต่ละพื้นที่การเลี้ยงอาจมีความแตกต่างกันหรือแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งคำแนะนำและเทคนิคต่างๆที่ระบุไว้ในคู่มือไม่มีทางสามารถที่จะแนะนำได้ทุกประเด็น หรือครอบคลุมเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ดีทางบริษัท Hy-Line ก็มีความมุ่งมั่ง ตั้งใจ และพยายามที่จะทำให้ข้อมูลนำเสนอหรือที่ตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปในขณะนั้นเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ 

ทาง Hy-Line International ต้องขอปฏิเสธความรับผิดชอบใดๆต่อความผิดพลาดหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูล, คำแนะนำ หรือวิธีการจัดการใดๆที่ปรากฏอยู่ในคู่มือดังกล่าวไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมหรือในทางที่ผิด นอกจากนี้ทาง Hy-Line International ยังไม่สามารถรับประกัน หรือให้การรับรองใดๆกับข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับ ความสมบูรณ์, ความถูกต้อง, ความน่าเชื่อถือ, ประสิทธิภาพของฝูง หรือประสิทธิภาพการผลิต ฯลฯ ที่นำเสนอในคู่มือการจัดการนี้

สารบัญ

 

ประสิทธิภาพการผลิตตามมาตรฐานของไก่ไข่ Hy-Line Brown

2

 

ขนาดของแหล่งแคลเซียมในอาหาร

20

การส่งมอบลูกไก่ไปยังฟาร์มไก่ไข่

3

 

ขนาดของเม็ดอาหาร

21

การกกลูกไก่ในกรง

3

 

วิตามินและแร่ธาตุ

22

ข้อแนะนำในการกกลูกไก่

5

 

ประเภทของอาหารตามความต้องการทางโภชนะของไก่

23

การจัดการแสงสว่างในช่วงกก

6

 

ปริมาณความต้องการโภชนะของไก่ในระยะเจริญเติบโต

24

การจัดการระบบน้ำดื่ม

7

 

การเปลี่ยนแปลงสูตรอาหาร ระยะเจริญเติบโต-ระยะให้ผลผลิต

25

การตัดจะงอยปาก

8

 

ปริมาณความต้องการโภชนะของไก่ในระยะให้ผลผลิต

26

การเจริญเติบโตและการพัฒนาของไก่ไข่

10

 

ปริมาณของโภชนะในอาหารไก่ระยะให้ผลผลิต

27

การเพิ่มน้ำหนักตัว, การบริโภคอาหาร และการกระจายตัวของน้ำหนัก

11

 

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการในเรื่องการบังคับพลัดขน

28

การจัดการพื้นที่ในการเลี้ยง

12

 

คุณค่าทางโภชนะในอาหารสำหรับระยะผลัดขน

30

ระบบการจัดการการเลี้ยงในกรง

12

 

ปริมาณความต้องการโภชนะของไก่ในระยะหลังผลัดขน

31

ขั้นตอนการจัดการไก่ไข่ HY-LINE BROWN ในแต่ละช่วงอายุ

13

 

การควบคุมโรค

32

การจัดการด้านแสงสว่างแสงที่ดี

15

 

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการทำวัคซีน

35

โปรแกรมการให้แสงสว่าง สำหรับควบคุมแสงสว่างภายในโรงเรือนปิด

15

 

ประสิทธิภาพการผลิตมาตรฐาน

38

โปรแกรมการให้แสงสว่าง สำหรับควบคุมแสงสว่างภายในโรงเรือนเปิด

16

 

กราฟแสดงประสิทธิภาพการผลิตมาตรฐาน

40

การพิจารณาเรื่องแสงสว่าง

17

 

ประสิทธิภาพการผลิตมาตรฐานหลังการผลัดขน

41

การใช้ม่าน หรือวัสดุบังแสงในส่วนเปิดของโรงเรือน

17

 

กราฟแสดงประสิทธิภาพการผลิตมาตรฐานหลังการผลัดขน

42

การให้อาหารตอนเที่ยงคืน (Midnight Feeding)/โปรแกรมแสงสว่าง

17

 

มาตรฐานด้านคุณภาพและขนาดของไข่

43

การจัดการคุณภาพน้ำ

18

 

กราฟแสดงการแบ่งขนาดของไข่ตามมาตรฐาน

45

การบริโภคน้ำ

19

 

ตารางแสดงวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารสัตว์

46

คุณภาพอากาศ

20

     

ประสิทธิภาพการผลิตตามมาตรฐานของไก่ไข่ Hy-Line Brown Commercial

 

 

 

ระยะเจริญเติบโต (17 สัปดาห์)

 

 

อัตราการเลี้ยงรอด (เพศเมีย)                   

 

98%

ปริมาณการบริโภคอาหาร

 

5.75–6.13 กก.

น้ำหนักตัว

(ที่ 17 สัปดาห์)

1.40–1.48 กก.

ระยะให้ผลผลิตไข่ (110 สัปดาห์)

 

 

ผลผลิตไข่สูงสุด

 

95-96%

จำนวนไข่ (Hen Day)

(60 สัปดาห์)

257-266

 

(90 สัปดาห์)

419-432

จำนวนไข่ (Hen House)

(60 สัปดาห์)

253-262

 

(90 สัปดาห์)

408-421

 

(110 สัปดาห์)

491-508

อัตราการเลี้ยงรอด                

(60 สัปดาห์)

97%

 

(90 สัปดาห์)

93%

อายุเมื่อให้ผลผลิตที่ 50%

 

140 วัน

น้ำหนักไข่

(26 สัปดาห์)

57.3–59.7 กรัม/ฟอง

 

(32 สัปดาห์)

60.1–62.5 กรัม/ฟอง

 

(70 สัปดาห์)

62.9–65.5 กรัม/ฟอง

น้ำหนักไข่ทั้งหมด/แม่ไก่ 1 ตัว

(18-90 สัปดาห์)

25.5 กก.

น้ำหนักตัว

(32 สัปดาห์)

1.85–1.97 กก.

 

(70 สัปดาห์)

1.91–2.03 กก.

ค่าการปราศจากการเป็นไข่แฝด

 

ดีเยี่ยม

ค่าความแข็งของเปลือกไข่

 

ดีเยี่ยม

สีของเปลือกไข่

(38 สัปดาห์)

87

 

(56 สัปดาห์)

85

 

(70 สัปดาห์)

81

Haugh Unit

(38 สัปดาห์)

90

 

(56 สัปดาห์)

84

 

(70 สัปดาห์)

81.1

ปริมาณการบริโภคอาหารสะสมเฉลี่ย : ตัว                           

  (18-19 สัปดาห์)

105-112 กรัม

อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นผลผลิตไข่ (กก.อาหาร/กก.ไข่)

  (20-60 สัปดาห์)

1.87–1.99 กก.

 

  (20-90 สัปดาห์)

1.95–2.07 กก.

อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นผลผลิตไข่ 1 กก. (กก.ไข่/กก.อาหาร)

  (20-60 สัปดาห์)

0.50–0.54 กก.

 

  (20-90 สัปดาห์)

0.48–0.51 กก.

การบริโภคอาหารสะสม : การผลิตไข่ 12 ฟอง

  (20-60 สัปดาห์)

1.42–1.46 กก.

 

  (20-90 สัปดาห์)

1.51–1.55 กก.

สีของผิวหนัง

 

เหลือง

ลักษณะการขับถ่ายมูล

 

แห้ง

 

 

 

* ข้อมูลที่แสดงในตารางเป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจากประสิทธิภาพการผลิตของลูกค้า Hy-Line จากทั่วทุกมุมโลก หากคุณเป็นหนึ่งในลูกค้าของ Hy-Line กรุณาส่งข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตของคุณมาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  ในส่วนของฐานข้อมูล Hy-Line International EggCel คุณสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้ทาง www.hylineeggcel.com

 

การส่งมอบลูกไก่ไปยังฟาร์มไก่ไข่

ขั้นตอนการขนส่ง

  • ทาง Hy-Line มีการใช้รถบรรทุกที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับใช้ในการขนส่งลูกไก่ เพื่อทำการเคลื่อนย้ายลูกไก่จากโรงฟักไปยังฟาร์มของลูกค้า โดยสภาพแวดล้อมภายในตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ขนส่งลูกไก่ มีการควบคุมและปรับสภาพแวดล้อมให้มีความคงที่ โดยอุณหภูมิภายในตู้คอนเทนเนอร์จะอยู่ที่ 30–32°C, ความชื้นสัมพัทธ์ภายในเท่ากับ 70% (บันทึกอุณหภูมิจากภายในกล่องบรรจุลูกไก่), การไหลเวียนของอากาศภายในเท่ากับ 0.7 ตรม./วินาที
  • กล่องที่ใช้ในการบรรจุลูกไก่มีการเจาะรูโดยรอบ โดยมีวัตถุประสงค์คือสำหรับใช้ในการระบายอากาศ
  • เพื่อลดความเครียดที่อาจเกิดขึ้นกับลูกไก่ในการขนส่งไม่ว่าจะทางรถบรรทุกหรือทางเครื่องบิน ทางบริษัทจึงได้มีการปรับสภาพแวดล้อมในการขนส่งให้ดีที่สุด
  • ทาง Hy-Line ได้มีการนำเครื่องมือสำหรับบันทึกอุณหภูมิภายใส่ลงไปภายในกล่องบรรจุลูกไก่ เพื่อทำการบันทึกความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตลอดระยะทางการขนส่งลูกไก่จากโรงฟักไปจนถึงฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์ โดยทางฟาร์มจะต้องส่งข้อมูลเหล่านี้กลับมายัง Hy-Line International เพื่อทำการประมวลผลและจัดเก็บบันทึกลงในฐานข้อมูล

ขั้นตอนการจัดการลูกไก่หลังการขนส่ง

  • ทำการเคลื่อนย้ายกล่องบรรจุลูกไก่ไปยังโรงเรือนด้วยความรวดเร็วและนุ่มนวล หลังจากนั้นให้รีบปล่อยลูกไก่ ลงสู่พื้นที่สำหรับกกที่ทางฟาร์มเตรียมไว้
  • ทำการแยกบริเวณสำหรับกกลูกไก่ออกจากกันตามอายุของลูกไก่ ในกรณีที่ทางฟาร์มมีการกกลูกไก่หลายช่วงอายุ

การกกลูกไก่ในกรง

  • โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงไก่ ต้องผ่านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งต้องผ่านการทวนสอบด้านความสะอาดสุขลักษณะภายในโรงเรือนด้วยวิธีการ SWAB
  • ควรมีระยะพักโรงเรือนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนมีการนำไก่ฝูงใหม่เข้ามาเลี้ยงในโรงเรือน
  • ในระยะแรกควรให้ลูกไก่อยู่ชั้นบนของกรง ซึ่งจะมีความอบอุ่นและแสงสว่างให้ลูกไก่อย่างเพียงพอ
  • สามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการโรงเรือนและการกกลูกไก่ได้ที่ hylinepullet.com
  • ทางฟาร์มควรมีการเตรียมความพร้อมด้านอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือนก่อนลูกไก่เดินทางมาถึงอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • ในระยะ 0-3 วันแรกของการเลี้ยง อาจต้องทำการโรยอาหารบนกระดาษใกล้ๆกับบริเวณอุปกรณ์ให้อาหาร เพื่อกระตุ้นให้ลูกไก่คุ้นเคยกับอุปกรณ์ให้อาหาร
  • ทำการปรับอัตราการเดินอาหารของเครื่องให้อาหารแบบอัตโนมัติให้อยู่ที่ระดับสูงสุดเพื่อเป็นการกระตุ้น และฝึกให้ลูกไก่กินอาหารจากสายพานลำเลียงอาหาร
  • ทำการรื้อกระดาษรองพื้นทิ้งก่อนลูกไก่มีอายุได้ 14 วัน เพื่อลดการสะสมของมูล
  • พื้นของกรงที่ใช้สำหรับเลี้ยงลูกไก่ไม่ควรออกแบบให้ลื่นหรือมีความลาดชัน
  • เสริมวิตามินและอิเล็คโทรไลท์ ละลายน้ำให้ลูกไก่ดื่มอย่างต่อเนื่อง (ควรหลีกเลี่ยงการใช้วิตามิน หรืออิเล็คโทรไลท์ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเพื่อลดการเกิดและเจริญเติบโตของเชื้อโรค)

 

 

 

 

                    

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อแนะนำในการกกลูกไก่

  • ควรกกลูกไก่ที่มาจากฝูงเดียวกัน หรือมีอายุใกล้เคียงกัน
  • ทางฟาร์มสามารถปรับเปลี่ยนอุณหภูมิในการกกลูกไก่ได้ตามความเหมาะสม โดยยึดหลักให้ลูกไก่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสบาย
  • การกำหนดอุณหภูมิที่ใช้กก จำเป็นต้องสอดคล้องกับค่าความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนในขณะนั้น เช่น สามารถใช้อุณหภูมิต่ำในขณะที่มีความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนสูงได้
  • ทางฟาร์มควรมีการเตรียมความพร้อมด้านอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือนก่อนลูกไก่เดินทางมาถึงอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และอุณหภูมิบริเวณพื้นโรงเรือนควรเท่ากับ 32°C
  • การเร่งความเข้มแสง (30–50 lux) ในระหว่าง 0-7 วันแรก มีผลช่วยให้ลูกไก่สามารถกินน้ำและอาหาร รวมถึงสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโรงเรือนได้เร็วยิ่งขึ้น
  • หลังจากผ่านสัปดาห์แรกให้ทำการลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนลงสัปดาห์ละ 2-3°C จนเหลือ 21°C และให้รักษาระดับอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้คงที่อยู่ที่ 21°C

 

 

 

 

 

 

 

ผลกระทบของค่าความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือน

 

 

ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ

ความชื้นสัมพัทธ์สูง

    ส่งผลให้ฝูงไก่รู้สึกอึดอัด

    ส่งผลให้วัสดุรองพื้นเปียกชื้น

    เพิ่มการสูญเสียน้ำของร่างกาย

    เพิ่มปฏิกิริยาการเกิดแอมโมเนีย

    ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์มูลแข็งติดก้น โดยเฉพาะในลูกไก่

    คุณภาพของอากาศภายในโรงเรือนไม่ดี

    ส่งผลให้ฝูงไก่เกิดความกระวนกระวาย และส่งผลให้เกิด      

    ปรากฏการณ์การจิกกันขึ้นภายในฝูง

 

    ส่งผลเสียต่อขนของลูกไก่

 

    เพิ่มการเกิดและการสะสมของฝุ่นละอองภายในโรงเรือน

 

 

 

 

การจัดการแสงสว่างในช่วงกก

  • โปรแกรมการให้แสงสว่างในช่วง 0-3 วันแรกของการเลี้ยง แนะนำให้มีการเปิดไฟ 23 ชั่วโมง ปิด 1 ชั่วโมง และทำการลดการเปิดไฟลงเหลือ 21 ชั่วโมง ในช่วงวันที่ 4-7 ซึ่งวัตถุประสงค์คือการกระตุ้นให้ลูกไก่กินน้ำกินอาหาร ซึ่งการให้แสกงแบบเป็นช่วงๆถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการจัดโปรแกรมการให้แสงสว่าง (ดูตัวอย่างได้จากภาพ)
  • ไม่ควรเปิดไฟไว้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • การเร่งความเข้มแสง (30–50 lux) ในระหว่าง 0-7 วันแรก มีผลช่วยให้ลูกไก่สามารถกินน้ำและอาหาร รวมถึงสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโรงเรือนได้เร็วยิ่งขึ้น
  • หลังจากผ่านการเลี้ยงในสัปดาห์แรก จะทำการลดเวลาในการให้แสงสว่างลงอย่างช้าๆ (ศึกษาข้อมูลเพิ่มได้ในหัวข้อ การควบคุมแสงสว่างภายในโรงเรือน

โปรแกรมการให้แสงสว่างแบบไม่ต่อเนื่อง      

 
 

· เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเทคนิคการให้แสง

· เหมาะสมสำหรับใช้ในช่วงอายุ 0-7 วันแรก

· มีการเว้นระยะเวลาเพื่อให้ไก่ได้พักผ่อน

· กระตุ้นให้ฝูงไก่มีการตื่นตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการกินได้ของลูกไก่

· เพิ่มอัตราการเลี้ยงรอดที่ 7 วัน

· เพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากการได้รับวัคซีน

· สามารถปรับเปลี่ยนช่วงเวลาของการปิดไฟบางช่วงให้สั้นลง หรือสามารถนำออกไปจากตารางเวลา เพื่อปรับเวลาการให้แสงสว่างตรงกับตารางเวลาการทำงานของพนักงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการระบบน้ำดื่ม

  • น้ำสำหรับให้ไก่ดื่มต้องมีการตรวจสอบคุณภาพและความสะอาดตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงบริเวณที่ไก่ดื่ม
  • มีการ flushing ไลน์น้ำดื่มเป็นประจำทุกวัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่นำฝูงไก่เข้ามาเลี้ยงในโรงเรือน
  • มีการทำความสะอาดจุ๊บน้ำ หรือถ้วยน้ำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของเศษอินทรียวัตถุ และลดการเกิดและการสะสมของเชื้อโรค
  • อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการให้ไก่บริโภคควรอยู่ในช่วง 10-20°C
  • แรงดันของน้ำสำหรับให้ไก่ดื่มภายในท่อส่งน้ำควรมีแรงดันประมาณ 70 มิลลิลิตร/นาที/จุ๊บ

 

       
 

· ในช่วง 0-3 วันแรก ผู้เลี้ยงควรทำการกดน้ำให้เต็มถ้วยอยู่ตลอดเวลาเพื่อฝึกให้ลูกไก่รู้จักกินน้ำจากถ้วย

 

 
 

· ในช่วง 0-3 วันแรกควรทำการปรับระดับแรงดันน้ำในท่อขึ้นให้มีหยดน้ำติดอยู่ตรงปลายจุ๊บตลอดเวลา

· ถ้วยน้ำข้างใต้จุ๊บน้ำ มีประโยชน์ในช่วงของการกกลูกไก่ และในเวลาที่มีอากาศร้อน

· จุ๊บน้ำแบบเข้าถึงได้รอบทิศทาง (360°) ช่วยให้ลูกไก่สามารถกินน้ำได้อย่างสะดวก

· จุ๊บน้ำแบบเข้าถึงได้รอบทิศทาง (360°) มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการกินน้ำได้ของลูกไก่ที่ผ่านการตัดปากมาจากโรงฟัก

·  

 

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การตัดจะงอยปาก

  • ไก่ไข่สายพันธุ์ Hy-Line Brown โดยส่วนใหญ่จะผ่านการตัดจะงอยปากด้วยแสงอินฟราเรดมาจากโรงฟัก หรือจะถูกนำมาตัดจะงอยปากที่ฟาร์มเมื่อลูกไก่มีอายุได้ 7-10 วัน
  • หากการตัดจะงอยปากครั้งแรกไม่ได้ผล จำเป็นต้องนำไก่มาทำการตัดจะงอยปากอีกครั้งเมื่อไก่มีอายุได้ 6 สัปดาห์ หรือระหว่าง 12-14 สัปดาห์
  • หากไก่อยู่ในสภาพแวดล้อมปิด ที่มีการควบคุมการให้แสงสว่าง การตัดจะงอยปากเพียงครั้งเดียวถือว่าเพียงพอแล้ว
  • วัตถุประสงค์ของการตัดจะงอยปาก คือ เพื่อลดอัตราการสูญเสียของอาหารจากพฤติกรรมการจิกกิน และลดการจิกทำร้ายกันของ แม่ไก่

 

การตัดจะงอยปากด้วยแสงอินฟราเรด

  • มีประสิทธิภาพในการตัดจะงอยปากที่ดี
  • ในระยะแรกจะงอยปากของลูกไก่จะยังคงเป็นเหมือนเดิน แต่จะงอยปากส่วนที่แหลมคมจะหลุดไปเองภายใน 14 วัน หลังการตัดจะงอยปากด้วยแสงอินฟราเรด
  • การจัดการน้ำดื่มที่เหมาะสมให้แก่ลูกไก่หลังการตัดจะงอยปากคือ การใช้จุ๊บน้ำแบบเข้าถึงได้รอบทิศทาง (360°) ช่วยให้ลูกไก่สามารถกินน้ำได้อย่างสะดวก

 

การตัดจะงอยปากด้วยเครื่องตัดจะงอยปากไฟฟ้า

  • ให้ทำการจี้จะงอยปากลูกไก่กับใบมีดประมาณ 2 วินาที

- ในกรณีที่จี้ปากไก่กับใบมีดด้วยเวลาน้อยกว่า 2 วินาที หรือใบมีมีอุณหภูมิสูงไม่ถึงกำหนด จะส่งผลให้จะงอยปากที่งอกออกมาใหม่มีความไม่สม่ำเสมอ

- ในกรณีที่จี้ปากไก่กับใบมีดด้วยเวลาที่มากกว่า 2 วินาที หรือใบมีมีอุณหภูมิสูงเกินกว่ากำหนด จะส่งผลให้เส้นประสาทบริเวณจะงอยปากตาย และจะงอยปากไก่อาจผิดรูป

  • หากทางฟาร์มมี Pyrometer ให้ทำการใช้ Pyrometer ทำการวัดอุณหภูมิที่ใบมีด ซึ่งอุณหภูมิของใบมีที่เหมาะสมสำหรับการตัดจะงอยปากของลูกไก่คือประมาณ 595°C
  • ผู้มีประสบการณ์สามารถใช้การสังเกตสีของใบมีด แทนการใช้อุปกรณ์การวัดอุณหภูมิ

 

  • อุณหภูมิของใบมีดขณะใช้งาน อาจมีความคราดเคลื่อนได้ถึง 40°C ซึ่งทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น อุณหภูมิของสภาพแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปจะไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาของมนุษย์
  • หลุมนำร่องที่เครื่องจะงอยปาก จะถูกใช้เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตัดจะงอยปาก ซึ่งหลุมนำร่องจะมีอยู่หลายขนาด การเลือกใช้ก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของจะงอยปากไก่ที่จะตัด
  • หลังจากทำการตัดจะงอยปากลูกไก่แล้วให้ทำการตรวจดูความเรียบร้อยของจะงอยปากไก่ทุกครั้งก่อนทำการปล่อยรวมฝูง

 

ข้อควรระวังในการตัดจะงอยปาก

  • ไม่ควรตัดจะงอยปากหากพบว่าไก่ไม่สบาย หรือสุขภาพไม่แข็งแรง
  • เวลาปฏิบัติงานไม่ควรรีบร้อน
  • ละลายวิตามินและอิเล็คโทรไลท์ที่มีวิตามิน K เป็นส่วนประกอบ ให้ไก่ดื่มอย่างน้อย 2 วันก่อนการตัดจะงอยปาก และให้ต่ออีกอย่างน้อย 2 วันหลังการตัดจะงอยปาก
  • ทำการเติมอาหารในถาดอาหารหรือสายพานให้อยู่ในระดับสูงสุดอยู่ตลอดเวลา
  • ผู้ทำการตัดจะงอยปากควรมีความรู้และประสบการณ์
  • การจัดการน้ำดื่มที่เหมาะสมให้แก่ลูกไก่หลังการตัดจะงอยปากคือ การใช้จุ๊บน้ำแบบเข้าถึงได้รอบทิศทาง (360°) ช่วยให้ลูกไก่สามารถกินน้ำได้อย่างสะดวก
  • เวลาปฏิบัติงานควรจับลูกไก่ด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวัง

 

 

 

การเจริญเติบโตและการพัฒนาของไก่ไข่

  • เพื่อให้การจัดการมีประสิทธิสูงสุด จำเป็นต้องให้ความสำคัญการจัดการตั้งแต่ระยะที่เป็นลูกไก่ เพื่อให้ลูกไก่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • ไก่สาวที่จะเข้าสู่ระยะไข่ ต้องมีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.40-48 กก. และมีความสม่ำเสมอของน้ำหนักตัวตลอดทั้งฝูง มากกว่า 90%
  • น้ำหนักตัวของลูกไก่เมื่อมีอายุได้ 7 วัน ควรสูงกว่าน้ำหนักตัวตอนแรกเกิดถึง 2 เท่า
  • เป้าหมายสำหรับการจัดการคือการจัดการให้น้ำหนักตัวของฝูงไก่ที่มีอายุ 6, 12, 18, 24 และ 30 ตรงตามเป้าหมายตามค่าน้ำหนักมาตรฐาน เพื่อให้แน่ในว่าทางฟาร์มได้มีการจัดการด้านอาหาร การเจริญเติบโต และการพัฒนาด้านร่างกายของฝูงไก่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • หากเป็นไปได้ควรจัดการให้ได้เกินกว่าค่ามาตรฐาน
  • ในกรณีที่น้ำหนักตัวของฝูงไก่ไม่ได้ตามค่ามาตรฐาน ให้ทำการเปลี่ยนมาใช้อาหารสำหรับเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโตสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก hylinepullet.com

 

 

 

ความสำคัญของการพัฒนากล้ามเนื้อหน้าอก

  • กล้ามเนื้อเป็นสถานที่เก็บรวบรวม ไกลโคเจน ซึ่งจะถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไข่
  • ไก่ไข่ที่มีการพัฒนาระบบกล้ามเนื้อที่ดี จะส่งผลให้มีผลผลิตไข่ที่สูง

 

 

การเพิ่มน้ำหนักตัว, การบริโภคอาหาร และการกระจายตัวของน้ำหนักภายในฝูง

    อายุ (สัปดาห์)

    น้ำหนักตัว

    (กรัม)

    การบริโภคอาหาร

        (กรัม/ตัว/วัน)

UNIFORMITY

 

1

68 – 72

14 –

15

 

>85%

2

121 – 129

17 –

21

3

184 – 196

23 –

25

4

257 – 273

27 –

29

 

>65%

5

349 – 371

34 –

36

6

446 – 474

38 –

40

7

543 – 577

41 –

43

 

 

>75%

8

650 – 690

45 –

47

9

757 – 803

49 –

53

10

863 – 917

52 –

56

11

960 – 1020

58 –

62

12

1048 – 1112

62 –

66

13

1125 – 1195

67 –

71

 

 

  >85%

14

1193 – 1267

70 –

74

15

1261 – 1339

72 –

76

16

1329 – 1411

75 –

79

17

1397 – 1483

78 –

82

>90%

 

 

 

 

 

การจัดการพื้นที่ในการเลี้ยง

*ความต้องการด้านพื้นที่ของไก่อาจแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับสภาพของสิ่งแวดล้อม        

 

 

· ไก่จะถูกย้ายขึ้นกรง เพื่อไข่เมื่อมีอายุได้ 15-16 สัปดาห์หรือหลังจากผ่านการทำวัคซีนเชื้อเป็นแล้ว

· ทำการเดินระบบน้ำและอาหารให้พร้อมก่อนทำการย้ายไก่ขึ้นกรง

· ทำการสังเกตและคัดทิ้งไก่กระเทยภายที่พบเจอในฝูงออกในช่วงอายุระหว่าง 7 สัปดาห์เรื่อยมาถึงวันที่ทำการย้ายไก่ขึ้นกรง

· ละลายวิตามินและอิเล็คโทรไลท์ ให้ไก่ดื่มอย่างน้อย 3 วันก่อนการย้ายไก่และให้ต่ออีกอย่างน้อย 3 วันหลังการย้ายไก่

· ทำการสุ่มชั่งน้ำหนักไก่ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงสูตรอาหาร

· ทำการตรวจสอบไก่ตายเป็นประจำทุกวัน และทำการนำซากไก่ที่ตายไปกำจัดทุกวัน

· หากพบว่าอัตราการตายภายในฝูงต่อสัปดาห์มีมากกว่า 0.1% ให้ทำการ  ผ่าชันสูตรซากไก่ดังกล่าว เพื่อหาสาเหตุของการตายที่เกิดขึ้น

 

ระบบการจัดการการเลี้ยงในกรง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                       

 

วิธีการสัมผัสไก่ที่นุ่มนวล

·  ในการชั่งน้ำหนัก, เก็บตัวอย่างเลือด, คัดแยกกลุ่ม, ทำวัคซีน และเคลื่อนย้ายไก่ ควนกระทำด้วยความนุ่มนวลระมัดระวัง เพื่อป้องกันไก่ได้รับบาดเจ็บ

·  จับไก่ที่ขาหรือปีกทั้ง 2 ข้าง

·  ปล่อยไก่กลับสู่กรงด้วยความระมัดระวัง

·  ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีประสบการณ์ และได้รับการฝึกอบรมการจับสัตว์ปีกมาเป็นอย่างดี

 

ขั้นตอนการจัดการไก่ไข่ HY-LINE BROWN ในแต่ละช่วงอายุ

 

                                                            

 

ขั้นตอนการจัดการไก่ไข่ HY-LINE BROWN ในแต่ละช่วงอายุ

 

 การชั่งน้ำหนักในแต่ละช่วงอายุ

·    ทำการแบ่งกลุ่มของไก่ตามน้ำหนักร่างกาย เพื่อนำไปใส่ไว้กรงที่ตำแหน่งต่างๆ ตามระดับของอุณหภูมิรวมถึงสิ่งแวดล้อม ณ ตำแหน่งที่ตั้งของกรง

·    ระบุตำแหน่งของกรงที่จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของสายพานลำเลียงอาหาร

·    ทำการระบุตำแหน่งที่ตั้งของกรงสำหรับใช้ในการตรวจสอบน้ำหนักของไก่ และทำการชั่งไก่ที่ตำแหน่งเดิมทุกครั้ง

0-3 สัปดาห์

·    ชั่งน้ำหนักลูกไก่ 10 กล่องๆละ 10 ตัว

4-29 สัปดาห์

·    ชั่งน้ำหนังไก่ 100 ตัวเป็นประจำทุกสัปดาห์

·    ชั่งน้ำหนักไก่ ณ ตำแหน่งที่ตั้งกรงเดิมทุกครั้ง เพื่อความ

แม่นยำของข้อมูล

·    ทำการคำนวณเปอร์เซ็นต์ Uniformity

30-50 สัปดาห์

·    ชั่งน้ำหนังไก่ 100 ตัวเป็นประจำทุก 5 สัปดาห์

·    ชั่งน้ำหนักไก่ ณ ตำแหน่งที่ตั้งกรงเดิมทุกครั้ง เพื่อความ

แม่นยำของข้อมูล

·    ทำการคำนวณเปอร์เซ็นต์ Uniformity

 การเก็บตัวอย่างเลือดในแต่ช่วงอายุ

ทำการเก็บตัวอย่างซีรั่ม 10-20 ตัวอย่างต่อฝูงสำหรับตรวจ

วัด Titer

         8 สัปดาห์

·    เพื่อประเมินผลและเทคนิคการฉีดวัคซีนในครั้งที่ผ่านมา

15 สัปดาห์

·    เก็บตัวอย่างเลือดก่อนทำการย้ายไก่ขึ้นกรงเพื่อใช้ในการ

ประเมินความเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปตัวอย่างเลือดจะไม่

ถูกส่งไปวิเคราะห์ยังห้องปฏิบัติการ แต่จะถูกแช่แข็งเก็บ

ไว้ภายในฟาร์มสำหรับส่งไปทำการวิเคราะห์หากเกิด

การระบาดของโรคภายในฟาร์มในอนาคต

 

 การควบคุมน้ำหนักไข่ในแต่ละช่วงอายุ

             ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างไข่ จากสายพานลำเลียงไข่หน้ากรง จำนวน 100 ฟอง (อาจเป็นไข่จากแม่ไก่กรงที่ทำการชั่งน้ำหนัก) เพื่อให้แน่ใจว่ามีการกระจายตัวของตัวอย่างไข่ที่สม่ำเสมอ ในการสุ่มเก็บตัวอย่างไข่เพื่อนำมาชั่งน้ำหนัก ควรทำการกำหนดให้เป็นวันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ (ให้เป็นวันเดียวกัน) และเวลาในการปฏิบัติงานต้องอยู่ภายในกรบเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง

 

 

 

 
 

มากกว่า 50 สัปดาห์

· ชั่งน้ำหนังไก่ 100 ตัวเป็นประจำทุก 10 สัปดาห์

· ชั่งน้ำหนักไก่ ณ ตำแหน่งที่ตั้งกรงเดิมทุกครั้ง เพื่อความแม่นยำของข้อมูล

· ทำการคำนวณเปอร์เซ็นต์ Uniformity

การประเมินระหว่างการชั่งน้ำหนัก

· ความแข็งแรงและความหนาแน่ของกระดูกหน้าอก

· คะแนนความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อหน้าอก

· ไขมันหุ้มร่างกาย

· ปรสิตภายนอก

· อาการที่แสดงออกของโรค

 

 

 

 

16-24 สัปดาห์

· เก็บตัวอย่างเลือดอย่างช้าภายใน 4 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนเข็มสุดท้าย

· ใช้ในการประเมินการตรวจสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากการได้รับเชื้อโรคหลังการย้ายไก่ขึ้นกรง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                               

การจัดการด้านแสงสว่างแสงที่ดี

  • ในโรงเรือนไก่ไข่ ทำการวัดความเข้มแสงในจุดที่มีแสงสว่างน้อยที่สุด, ที่บริเวณสายพานลำเลียงอาหาร, บริเวณชั้นล่างของกรง, จุดกึ่งกลางระหว่างหลอดไฟ 2 ดวง
  • ดูแลรักษาความสะอาดของหลอดไฟอยู่เป็นประจำ เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียความเข้มของแสง
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีมุมมืด หรือจุดอับแสงภายในกรงมากเกินไป ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากระยะห่างระหว่างหลอดไฟอยู่ห่างกันเกินไป หรือเกิดกรณีที่หลอดไฟภายในกรงขาด
  • ทำความสะอาดวัสดุสะท้อนแสงไฟภายให้สะอาดและมันวาวอยู่เสมอ เพื่อช่วยในการกระจายแสงสว่างให้ทั่วกรง
  • ทำการตรวจสอบสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของฟาร์ม เพื่อใช้ในการคำนวณและปรับเปลี่ยนโปรแกรมการให้แสงสว่าง
  • โปรแกรมการให้แสงสว่าง หรือชั่วโมงการเปิดแสงสว่างภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่รุ่นและโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กันในวันที่ทำการย้ายไก่ขึ้นกรง
  • อาจมีการขยายระยะเวลาการกระตุ้นแสงเพื่อเหนี่ยวนำให้ผลผลิตของแม่ไก่ขยับตัวขึ้นสู่จุดให้ผลผลิตสูงสุด (16 ชั่วโมงประมาณ สัปดาห์ที่ 30)
  • เพิ่มความเข้มแสงภายในโรงเรือนขึ้นทุกสัปดาห์ ติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนทำการย้ายไก่ขึ้นกรง

โปรแกรมการให้แสงสว่าง สำหรับควบคุมแสงสว่างภายในโรงเรือนปิด

(www.hylineweblighting.com)

การค่อยๆลดชั่วโมงการให้แสงสว่างภายในโรงเรือนลงในช่วง 0-8 สัปดาห์ มีจุดประสงค์เพื่อ

  • กระตุ้นการกินได้ในระยะเจริญเติบโต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาและการเจริญเติบโตของลูกไก่
  • เพื่อให้น้ำหนักตัวของแม่ไก่ มีความสม่ำเสมอกันตลอดฝูง
  • ส่งผลให้แม่ไก่ไข่ทน
  • ไข่ที่ได้มีขนาดใหญ่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โปรแกรมการให้แสงสว่าง สำหรับควบคุมแสงสว่างภายในโรงเรือนเปิด

 

 

เส้นสีดำแสดงให้เห็นถึงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นและตกตามธรรมชาติ ส่วนแถบสีฟ้าแสดงให้เห็นถึงโปรแกรมการปิดเปิดไปที่ถูกกำหนดขึ้น

 

· กรอก E-mail ของคุณ

· กรอกข้อมูลสายพันธุ์ไก่ที่เลี้ยง, สถานที่, ประเภทของโรงเรือน, วันที่ฟัก

· เลือกภาษาที่จะแสดงผล

· คลิ๊กที่ “Create Lighting Spreadsheet”

· หน้าจอแสดงผลจะปรากฏขึ้น

· คลิ๊กที่ “download Excel” เพื่อดาวน์โหลดข้อมูลโปรแกรมแสงของคุณ

 

(www.hylineweblighting.com)

              

 

การพิจารณาเรื่องแสงสว่าง

(กรงเลี้ยง)

  • ความสูงของหลอดไฟที่แตกต่างกัน มีส่วนในการช่วยกระจายแสงสว่างภายในกรง

 

การใช้ม่าน หรือวัสดุบังแสงในส่วนเปิดของโรงเรือน

  • การใช้ม่านหรือวัสดุสำหรับใช้บังแสง เป็นวิธีการที่ได้ผลในการลดปริมาณความเข้มแสงจากภายนอกเข้าสู่ภายในโรงเรือน
  • ดูแลรักษาม่านหรือวัสดุสำหรับใช้บังแสงให้สะอาด ปราศจากฝุ่น เพื่อประสิทธิภาพการถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือนทีมีประสิทธิภาพ
  • ทำการเปิดพัดลมเวลาบังม่านลง
  • ควรหลีกเลี่ยงให้ไก่สัมผัสกับแสงแดดโดยตรง อาจมีการใช้ม่านหรือวัสดุบังแสงกั้นตรงบริเวณหลังคาโรงเรือน
  • การใช้ม่านหรือวัสดุสำหรับใช้บังแสงควรมีสีดำ

 

การให้อาหารตอนเที่ยงคืน (Midnight Feeding)/โปรแกรมแสงสว่าง

  • เป็นเทคนิคการเปิดไฟเพื่อกระตุ้นการกินของไก่เวลาเที่ยงคืน
  • เมื่อกินอาหารมากขึ้นก็ส่งผลให้ฝูงไก่มีการเจริญเติบโตมากขึ้นตามไปด้วย
  • เพิ่มการดูดซึมแคลเซียม เนื่องจากในช่วงการคืนเป็นช่วงที่มีการฟอร์มตัว

     ของเปลือกไข่

  • มีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณกินในช่วงเวลาที่ให้ผลผลิตสูง
  • ช่วยแก้ปัญหาการกินได้น้อยในช่วงที่มีอากาศร้อน
  • การให้อาหาร Midnight Feeding อาจส่งผลให้ไก่กินอาหารเพิ่มขึ้น

2-5 กรัม/ตัว/วัน

 

      การจัดการที่ดี

  • ในระยะแรกของโปรแกรมอาจเริ่มต้นด้วยการเปิดไฟเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง ในช่วงกึ่งกลางของระยะปิดไฟ
  • ทำการเดินสายพานลำเลียงอาหารก่อนทำการเปิดไฟ
  • ควรมีการปิดไฟอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนมีการให้อาหาร Midnight Feeding
  • การเปิดไฟในช่วง Midnight Feeding จะไม่นับเวลารวมกับการเปิดไฟในโปรกแกรมการเปิดไฟปกติ (เช่น 16 ชั่วโมง)
  • หากต้องการยกเลิกโปรแกรม Midnight Feeding ต้องทำการค่อยๆลดเวลาการเปิดไฟในช่วง Midnight Feeding ลงอย่างช้าๆ (15 นาทีต่อสัปดาห์)

การจัดการคุณภาพน้ำ

  • น้ำถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำรงชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการจัดหาน้ำที่สะอาด มีคุณภาพดีสำหรับให้ไก่ดื่มกินอย่างเพียงพอตาม ความต้องการ
  • ปริมาณการบริโภคน้ำอาหารมีความสำพันธ์กันโดยตรงกับปริมาณการบริโภคอาหาร หากไก่มีการบริโภคน้ำในปริมาณที่น้อยก็จะส่งผลให้การบริโภคอาหารลดลงตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณของผลผลิตที่จะลดลง
  • โดยทั่วไป ไก่ที่มีสุขภาพแข็งแรงจะมีการบริโภคน้ำในอัตราส่วน 1.5-2.0 เท่าของปริมาณการบริโภคอาหาร ซึ่งอัตราส่วนดังกล่าวอาจมีการเพิ่มมากขึ้นในกรณีที่อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือนเพิ่มสูงขึ้น
  • อาจมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสัดส่วนของปริมาณความเข้มข้นของโซเดียมหรือแร่ธาตุชนิดอื่นๆในอาหาร
  • ควรมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำที่ใช้ผลิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • แหล่งน้ำผิวดิน อาจจำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพบ่อยครั้งกว่า แหล่งน้ำใต้ดิน เนื่องจากคุณภาพของแหล่งน้ำผิวดินมีการเปลี่ยนแปลง             อยู่ตลอดเวลา ซึ่งได้รับผลกระทบมาจากน้ำฝน
  • แหล่งน้ำใต้ดินแหล่งน้ำบาดาล มักจะมีคุณภาพคงที่ แต่จะมีปริมาณของ แร่ธาตุชนิดต่างๆปะปนอยู่สูง
  • หากมีการพบการปนเปื้อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรียในแหล่งน้ำ อาจมีความเป็นไปได้

ว่าแหล่งน้ำดังกล่าวมีการปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูลจากสัตว์หรือมนุษย์

  • ในการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพ ควรทำการเปิดก๊อกน้ำให้น้ำไหลทิ้งไปอย่างน้ำ 2 นาทีจึงทำการเก็บตัวอย่าง     ทำการเก็บตัวอย่างน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส และส่งไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพภายใน 24 ชั่วโมงหลังทำการเก็บตัวอย่าง
  • แหล่งน้ำบางแห่งอาจมีแร่ธาตุลายปะปนอยู่ในปริมาณความเข้มข้นที่สูง เช่น แคลเซียม, โซเดียม และแม็กนีเซียม ซึ่งหากพบเจอกรณีดังกล่าวทางฟาร์มจำเป็นต้องพิจารณาปริมาณแร่ธาตุที่ปะปนอยู่ในน้ำควบคู่กับปริมาณของแร่ธาตุที่มีอยู่ในอาหารด้วย
  • น้ำที่ดีควรมีค่า ความเป็นกรด-ด่างประมาณ pH 5-7 ซึ่งน้ำดังกล่าวจะถือเป็นน้ำที่สะอาด สามารถกระตุ้นการบริโภคอาหาร และยังส่งผลดีต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหารส่วนบน
  • คุณภาพของน้ำดื่มที่ไก่ได้รับมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยตรงกับสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงประสิทธิภาพในการย่อยและการดูดซึมโภชนะของไก่

 

 

 

 

 

 

 

 

    หากพบปนเปื้อนในปริมาณสูงจะส่งผลให้เกิดความเป็นพิษ

 

ค่า ORP

 

จำนวนโคลิฟอร์มแบคที่เรียจากสิ่งปฏิกูล

 

จำนวนโคลิฟอร์มแบคที่เรียทั้งหมด

 

จำนวนแบคที่เรียทั้งหมด

 

ค่า ORP ของ Free Choline ที่ระดับ 2-4 ppm ส่งผลในการฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วง pH ระหว่าง 5-7

 

    แสดงให้เห็นว่าน้ำดังกล่าวมีความสกปรก

 

ไก่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพของน้ำที่มี pH ต่ำได้ แต่หากค่า pH ของน้ำมีระดับต่ำกว่า 5 จะส่งผลให้อัตราการกินน้ำลดลง,     อุปกรณ์ที่เป็นโลหะจะเกิดสนิม หากน้ำมีค่า pH ประมาณ 8 จะส่งผลให้อัตราการกินน้ำลดลง, และผลของการฆ่าเชื้อโรคในน้ำลดลง

 

    หากพบปนเปื้อนในปริมาณสูงจะส่งผลให้เกิดความเป็นพิษ

 

    หากพบปนเปื้อนในปริมาณสูงจะส่งผลให้เกิดความเป็นพิษ

 

    หากพบปนเปื้อนในปริมาณสูงอาจส่งผลให้น้ำมีรสชาติที่ขม

 

 หากพบปนเปื้อนในปริมาณสูงอาจส่งผลออกฤทธิ์เป็นยาถ่าย

 

    สามารถยอมรับได้ ในปริมาณที่สูงถึง 50 ppm แต่ต้องพิจารณาควบคู่กับปริมาณของ chloride, sulphate หรือ potassium

 

    สามารถยอมรับได้ ในปริมาณที่สูง แต่ต้องพิจารณาควบคู่กับปริมาณของ Sodium ค่าความกระด้าง และค่า pH

 

    หากพบปนเปื้อนในปริมาณสูงอาจส่งผลออกฤทธิ์เป็นยาถ่าย และอาจก่อให้เกิดความเป็นพิษได้ถ้าหากร่วมกับ Sulfate ที่มีระดับสูงกว่า 50 ppm

 

    หากพบปนเปื้อนในปริมาณสูงอาจส่งผลต่อกลิ่นและรสชาติ

 

    หากพบปนเปื้อนในปริมาณสูงอาจส่งผลออกฤทธิ์เป็นยาถ่าย

 

 Chloride ที่ระดับต่ำกว่า 40 มก.อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษได้ถ้าหากร่วมกับ Sodium ที่มีระดับสูงกว่า 50 ppm

 

 การปนเปื้อนในปริมาณที่สูงถึง 3000 ppm จะไม่ส่งผลใดๆต่อประสิทธิภาพการผลิต แต่อาจส่งผลต่ออุปกรณ์ในด้านคราบตะกรันบริเวณที่น้ำหยด

 

 มีความเป็นพิษมากกว่า Nitrate ในไก่สาวมีความสามารถทนต่อพิษของ Nitrite ได้สูงสุดเพียง 1 ppm

 

 จากการทดสอบพบว่าไก่มีความอ่อนไหวต่อการได้รับ Nitrate ซึ่งในไก่โตเต็มวัยมีความสามารถทนต่อพิษของ Nitrate ได้สูงสุด 20 ppm

 

ความเข้มข้นสูงสุด

ppm หรือ mg/l

 

รายการ

 

 

การบริโภคน้ำ

อัตราการบริโภค/ไก่100ตัว/วัน

จากข้อมูลในตารางจะแสดงให้เห็นถึงปริมาณการกินน้ำที่ควรเป็น ในกรณีที่อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือนอยู่ในช่วง 21-27°C

ในขณะที่อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ปริมาณการกินน้ำก็ควรที่จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

 

 

 

 

 

 

                                               

คุณภาพอากาศ

อัตราการเคลื่อนที่ของอากาศ (ตารางเมตร/ชั่วโมง/ไก่1000ตัว)

·  อุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือนที่เหมาะสม คือ 18-20°C  และ 40-60% ตามลำดับ

·  โดยทั่วไปพัดลมที่ติดตั้งภายในโรงเรือนจะต้องสามารถสร้างการเคลื่อนที่ของอากาศภายในโรงเรือนไม่ต่ำกว่า 4 ตรม./กก.ของน้ำหนักตัว/ชั่วโมง

·  การระบายอากาศภายในโรงเรือนถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจาก

ü มีออกซิเจนเพียงพอต่อการดำรงชีวิตของฝูงไก่ภายในโรงเรือน

ü ขับไล่ความชื้นออกจากโรงเรือน

ü ขับไล่คาร์บอนไดออกไซด์ออกจาโรงเรือน

ü ขับไล่ฝุ่นละอองออกจากโรงเรือน

ü เจือจากเชื้อโรคที่ปะปนแพร่กระจายอยู่ในอากาศ

 

 

 

 

 

 

ขนาดของแคลเซียมในอาหาร

ขนาดของอนุภาคที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายของหินฝุ่น ดังนั้นระดับของแคลเซียมในอาหารอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนตามความสามารถในการละลายของหินปูน

 

 

 

 

 

                                                    

                                    แคลเซียมที่มีลักษณะละเอียด (0-2 มม.)                             แคลเซียมที่มีลักษณะหยาบ(2-4 มม.)

 

 

 

 

ขนาดของเม็ดอาหาร

ทำการใช้เครื่องคัดแยกขนาดอนุภาค  (Sieve shaker) ของอาหารแต่ละขนาด

  • ใช้ภายในฟาร์ม เพื่อทำการตรวจสอบขนาดของเม็ดอาหารที่นำมาส่งจากโรงงานผลิตอาหาร โดยตัวอย่างจะถูกเก็บจากถังบรรจุอาหารบนรถขนส่งเมื่อมาถึงยังฟาร์ม
  • ทำการประเมินความสม่ำเสมอของขนาดเม็ดอาหาร จากจุดเก็บตัวอย่างหลายๆจุด เพื่อนำมาประเมินคุณภาพการผลิตอาหารทั้งระบบ

 

อนุภาคของอาหารมีความละเอียดเกินไป

  • ปริมาณการกินได้รวมถึงความสามารถในการดูดซึมโภชนะลดลง
  • เพิ่มการสะสมของฝุ่นละอองในโรงเรือน

อนุภาคของอาหารมีความหยาบเกินไป

  • ไก่เลือกกินแต่อาหารที่มีขนาดใหญ่
  • เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการแยกชั้นกันของอาหาร

 

 

 

ขนาดของอาหาร

STARTER

GROWER

DEVELOPER

PRODUCTION

0–1 mm

25%

25%

25%

1–2 mm

เม็ดขบ

65%

35%

35%

2–3 mm

10%

35%

35%

3–4 mm

5%

5%

 

การจัดการที่ดี

·    การเว้นระยะเวลาว่างประมาณ 2-3 ชั่วโมง ก่อนการให้อาหารมื้อเที่ยง      จะกระตุ้นให้ไก่กินอาหารที่มีขนาดเล็กที่คงเหลืออยู่ในสายพานลำเลียงอาหาร

·    การเติม 0.5% น้ำมันหรือไขมัน ลงในอาหารจะมีส่วนช่วยรักษาการยึดเกาะหรือช่วยรักษาขนาดอนุภาคของอาหารไม่ให้แตกง่าย

·    การใช้อาหารที่มีขนาดใหญ่หรืออาหารเม็ดขบ จะสามารถกระตุ้นปริมาณการกินได้ของไก่ให้เพิ่มสูงขึ้นในกรณีที่มีอากาศร้อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

· วิตามินและแร่ธาตุจากพรีมิกซ์มักจะพบมากในเศษผงของอาหารที่แตกออกมา ซึ่งการเสริม 0.5% น้ำมันหรือไขมัน ลงในอาหารจะสามารถเพิ่มการยึดเกาะกันของอนุภาคอาหารไม่ให้มีการแตกออกจากกันได้

· มีการจัดการกับตารางเวลาการให้อาหารช่วงกลางวัน เพื่อช่วยกระตุ้นให้ไก่กินเศษอาหารที่มีขนาดเล็กในรางอาหาร

 

 

                                                                                      วิตามินและแร่ธาตุ

                                

 

 

                

 

 

 

                                                                                                           

 

 

                  วิตามิน                                                                                                          แร่ธาตุ

 

 

 

 

 

ประเภทของอาหารตามความต้องการทางโภชนะของไก่

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                          

 

ปริมาณความต้องการโภชนะของไก่ในระยะเจริญเติบโต

การเปลี่ยนแปลงสูตรอาหาร ระยะเจริญเติบโต-ระยะให้ผลผลิต          

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปริมาณความต้องการโภชนะของไก่ในระยะให้ผลผลิต

 

 

 

ปริมาณของโภชนะในอาหารไก่ระยะให้ผลผลิต (สอดคล้องกับระยะการให้ผลผลิตและปริมาณการบริโภค)

 

 

 

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการในเรื่องการบังคับพลัดขน

การตัดสินใจเรื่องการพลัดขนของไก่ควรพิจารณาดังต่อไปนี้

  • ต้นทุนค่าอาหารที่วางแผนไว้
  • ราคาไข่
  • ราคาไข่แต่ละขนาด
  • ต้นทุนในการจัดหาไก่สาวทดแทน
  • ราคาไก่ปลด
  • ประสิทธิภาพการผลิตของฝูง

การบังคับให้แม่ไก่ผลัดขน

  • ในไก่ไข่สายพันธุ์ Hy-Line Brown ภายหลังจากการพักฟื้นจากการบังคับผลัดขนจำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่อย่างดีเยี่ยม
  • อายุที่เหมาะสมในการบังคับผลัดขนคือ 65-75 สัปดาห์
  • การบังคับให้ไก่ผลัดขนสามารถช่วยปรับปรุงและยืดอายุการผลิตไข่ของฝูง รวมถึงคุณภาพของเปลือกไข่ และความสูงของอัลบูมินได้
  • ประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดหลังการบังคับผลัดขน จะต่ำกว่าประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดในช่วงก่อนการบังคับผลัดขน
  • ขนาดไข่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ได้รับหลังจากการบังคับผลัดขน ซึ่งขนาดของไข่จะมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังจากกระบวนการสร้างไข่ของแม่ไก่กลับมาเริ่มขึ้นอีกครั้ง
  • ในช่วงการบังคับให้แม่ไก่อดอาหารต้องมีน้ำให้ฝูงไก่กินตลอดเวลา
  • ปริมาณของ Sodium ในน้ำ (100 ppm หรือสูงกว่า) มีผลต่อการบังคับผลัดขน
  • การลดน้ำหนักตัวของแม่ไก่ให้คงเหลือประมาณน้ำหนักตัวเมื่ออายุ 18 สัปดาห์ (ลดลงประมาณ 21–22% ของน้ำหนักปัจจุบัน) ก่อนการผลัดขน สามารถช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพของการบังคับผลัดขนให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น
  • ผลผลิตหลังการผลัดขนของฝูงไก่ จะมีค่าดีที่สุดประมาณสัปดาห์ที่ 2 หลังการถูกบังคับให้ผลัดขน
  • เป้าหมายสูงสุดของการบังคับผลัดขนคือการลดน้ำหนักของแม่ไก่ให้เหลือประมาณ 47–1.57 kg ก่อนการผลัดขน
  • ภายหลังจากการสูญเสียน้ำหนักตัวของไก่ ให้ทำการควบคุมน้ำหนักของฝูงไก่โดยการจำกัดปริมาณการบริโภคต่อวันของไก่ และ/หรือทำการลดปริมาณพลังงานในอาหารลง
  • ทำการตรวจสอบน้ำหนักขณะกระบวนการผลัดขนอย่างใกล้ชิด
  • ทำการตรวจสอบน้ำหนักตัวของฝูงไก่ 2 ครั้ง/สัปดาห์ โดยทำการชั่งน้ำหนักไก่กรงเดิมเสมอทุกครั้ง เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูล
  • ในการสุ่มชั่งน้ำหนักตัว ควรทำการเลือกชั่งน้ำหนักไก่จากกรงแถวล่าง, แถวกลาง และแถวบน ทำการชั่งน้ำหนักทั้งกรงบริเวณด้านหน้า กลาง และด้านท้ายของโรงเรือน เพื่อเป็นการกระจายตัวของข้อมูลน้ำหนักไก่ทั้งหมดภายในโรงเรือน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โปรแกรมการบังคับผลัดขน

 

วันผลัดขน

แสงสว่าง (ชม/วัน)

ชนิดอาหาร

การปรับเปลี่ยนอาหาร

ปริมาณการกินอาหาร
(กรัม/วัน/ตัว)

อุณหภูมิภายในโรงเรือน(°C)

ข้อแนะนำ

-7 ถึง -5

16

อาหารไก่ไข่

ใช้ CaCO3 เนื้อละเอียด

เต็มที่

24–25

ใช้ CaCO3 เนื้อละเอียด ที่มีขนาดไม่เกิน 2 มม. ห้ามทำการเปลี่ยนแปลงปริมาณแคลเซียมในสูตรอาหาร

-4 ถึง -1

24

อาหารไก่ไข่

ใช้ CaCO3 เนื้อละเอียด, ไม่เติม NaCl

เต็มที่

24–25

0–6

6–84

อาหารผลัดขน

ใช้ CaCO3 เนื้อละเอียด

54–64

27–28

อุณหภูมิภายในโรงเรือนที่สูง จะส่งผลให้อัตราการบริโภคลดลง ทำการลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในช่วงอายุ 18 สัปดาห์  (ในไก่ไข่สายพันธุ์สีน้ำตาลสามารถทำการลดน้ำหนักตัวก่อนการผลัดขนได้มากกว่า    21–22%

7–17

6–8

อาหารผลัดขน

54–64

27–28

ควบคุมน้ำหนักตัว

18–19

12 หรือ 166

อาหารไก่ไข่

ใช้ CaCO3 เนื้อละเอียดผสมกับหยาบ ลงในอาหารไก่ไข่สูตรปกติ

64–73

27–28

ควบคุมหรือจำกับปริมาณการบริโภคในไก่ที่มีลักษณะอ้วน

20–21

166

อาหารไก่ไข่

เต็มที่

26–27

อุณหภูมิภายในโรงเรือนที่ลดลง สามารถเพิ่มอัตราการบริโภคให้สูงขึ้น

22–24

16

อาหารไก่ไข่

เต็มที่

24–25

ปรับอุณหภูมิให้กลับสู่ระดับปกติ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คุณค่าทางโภชนะในอาหารสำหรับระยะผลัดขน

 

 

                                     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                              

 

ปริมาณความต้องการโภชนะของไก่ในระยะหลังผลัดขน

 

                                                                                 

 

การควบคุมโรค

          ในฝูงไก่สาวหรือไก่ไข่ จะสามารถแสดงออกถึงศักยภาพการให้ผลผลิตตามพันธุกรรมได้ก็ต่อเมื่อ ฝูงไก่ดังกล่าวมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค การระบาดของโรคติดต่อสามารถส่งผลกระทบทางลบต่อระบบเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล ซึ่งในแต่ละพื้นที่ หรือภูมิภาคของโลกอาจมีการระบาดของโรคแต่ละชนิดที่แตกต่างกันออกไป

ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)

         การนำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพมาใช้งาน ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงและป้องกันเชื้อโรค ดังนั้นทางฟาร์มควรมีการระบุกฎระเบียบในด้านความปลอดภัยทางชีวภาพขึ้น เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้โรคติดต่อทั้งหลายเข้ามาสร้างความเสียหายให้แก่ฝูงสัตว์ปีกภายในฟาร์ม

  • ควบคุมดูแล และจำกัดการเคลื่อนที่ของคน เครื่องมือ-เครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงยานพาหนะ ที่จะเข้า-ออก บริเวณฟาร์มอย่างเคร่งครัด
  • จำกัดบริเวณผู้มาติดต่อธุระภายในบริเวณฟาร์ม ให้อยู่แต่ภายในสถานที่สำหรับแขกผู้มาเยือน
  • ควรมีบันทึกประวัติ การเข้า-ออก ของบุคคลและยานพาหนะ สำหรับผู้ที่จะเข้ามาติดต่อภายในฟาร์ม
  • ผู้ที่มีความประสงค์หรือมีหน้าที่ต้องจะเข้าไปภายในบริเวณฟาร์ม จะต้องทำการอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย รวมถึงผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ทางฟาร์มจัดเตรียมไว้ก่อนเข้าไปภายในบริเวณฟาร์ม
  • ทางฟาร์มควรมีการจัดหารองเท้าบู๊ท เสื้อผ้า หมวกคลุมผม สำหรับพนักงานและบุคคลภายนอก พร้อมทั้งมีมีการจัดการทำความสะอาดเสื้อผ้าที่ได้มาตรฐาน
  • ควรมีอ่างจุ่มเท้าฆ่าเชื้อโรคที่บริเวณทางเข้าโรงเรือนทุกหลัง
  • หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้เจ้าหน้าที่หรือคนงานจากภายนอกสำหรับการทำวัคซีน, การตัดจะงอยปาก หรือการย้ายไก่
  • เจ้าหน้าที่ผู้ดูแล หรือคนงาน ควรปฏิบัติงานประจำโรงเรือนใดโรงเรือนหนึ่งเพียงหลังเดียว ไม่ควรปฏิบัติงานปะปนกัน
  • หากพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปปฏิบัติงานใดในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกมากกว่า 1 โรงเรือนภายในวันเดียว ต้องทำการเข้าไปยังโรงเรือนสัตว์ปีกอายุน้อยก่อนสัตว์ปีกอายุมาก หรือจากโรงเรือนสัตว์ปีกที่แข็งแรงไปยังโรงเรือนที่สัตว์ปีกป่วย หากเป็นไปได้ไม่ควรเข้าไปในโรงเรือนมากกว่า 1 โรงเรือนภายใน 1 วัน
  • การปลดฝูงไก่ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะนำโรคติดต่อที่อาจติดมาจากรถบรรทุกหรือคนงาน เข้ามาสู่ฟาร์มได้ หากไม่มีการจัดการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ฟาร์มควรมีมาตรการป้องกันการเข้าออกของสัตว์ปีกตามธรรมชาติ, หนู และสัตว์พาหะชนิดอื่นๆ ไม่ให้สามารถเข้า-ออกในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกได้
  • ฟาร์มควรมีการจัดการฝูงสัตว์ปีกที่เลี้ยงในแต่ละโรงเรือนแบบ all in-all out เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากสัตว์ปีกที่มีอายุมากมายังสัตว์ปีกที่มีอายุน้อย
  • รีบกำจัดซากไก่ตายอย่างถูกวิธีทันทีที่พบเห็น เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค

 

 

 

 

 

 

 

การควบคุมหนู

         เป็นที่ทราบกันดีว่าหนูเป็นพาหะนำโรคติดต่อหลากหลายชนิดมาสู่ฝูงสัตว์ปีก หรือก่อให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในบริเวณต่างๆภายในฟาร์ม และยังสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคจากสัตว์ปีกฝูงหนึ่งไปยังสัตว์ปีกอีกฝูงหนึ่งได้ในกรณีที่ในฟาร์มมีสัตว์ปีกป่วย

  • ภายในบริเวณฟาร์มไม่ควรมีกองขยะ-กองวัสดุ หญ้ารกชัฏ หรือที่ซึ่งหนูสามารถใช้ในการทำรังหรือใช้เป็นที่หลบซ่อนได้
  • บริเวณโดยรอบโรงเรือนควรมีการโรยด้วยหิน หรือเทคอนกรีต ความกว้างประมาณ 1 เมตร เพื่อป้องกันหนูขุดรูลงไปใต้ฐานของโรงเรือน
  • อาหารสัตว์ หรือไข่ ควรจัดเก็บไว้ในสถานที่ที่สามารถป้องกันหนูได้
  • ควรมีการวางเหยื่อล่อไว้ตามบริเวณต่างๆภายในโรงเรือน และโดยรอบของโรงเรือน และทำการตรวจสอบร่องรอยการกินเหยื่ออยู่เป็นระยะ และมีการเปลี่ยนเหยื่อล่อให้มีความสดใหม่อยู่เสมอ

 

การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค

         การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อโรงเรือนและอุปกรณ์ภายในโรงเรือน ระหว่างพักโรงเรือนหลังการปลดไก่ฝูงก่อนหน้า สามารถช่วยลดความเสี่ยงการปนเปื้อนข้ามของเชื้อโรคระหว่างฝูงสัตว์ปีก

  • ระยะพักโรงเรือนที่เหมาะสมควรมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์
  • ทำการย้ายอาหารและมูลออกจากโรงเรือนให้หมด
  • ทำความสะอาดบานเกร็ด air inlet, ตัวเครื่องพัดลมระบายอากาศ, ใบพัด, บานเกร็ดพัดลม
  • เพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือนระหว่างกระบวนการทำความสะอาด เพื่อให้สามารถชะล้างอินทรียวัตถุออกได้จำนวนมาก
  • ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงทำการฉีดล้างเศษหรือคราบอินทรียวัตถุที่ติดอยู่ภายในโรงเรือนและอุปกรณ์ออกให้สะอาด
  • สารซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดชนิดโฟม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดคราบสกปรกที่เป็นอินทรียวัตถุ
  • การล้างโรงเรือน/กรง ต้องทำการล้างจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง
  • ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงทำการฉีดล้างน้ำยาทำความสะอาดออกให้หมด
  • ปล่อยโรงเรือนทิ้งไว้ให้แห้ง
  • หลังจากโรงเรือนแห้งให้ทำการสเปรย์ยาฆ่าเชื้อ และรมควันฆ่าเชื้อ
  • ล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อระบบท่อส่งน้ำดื่ม
  • ทวนสอบความสะอาดทางจุลชีวะวิทยา เพื่อตรวจหาเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ภายในโรงเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเชื้อ Salmonella Enteritidis
  • จัดการโรงเรือนให้แห้ง
  • จัดการเตรียมความพร้อมของโรงเรือนและอุปกรณ์ภายในโรงเรือนให้มีความพร้อมสำหรับนำสัตว์ปีกฝูงใหม่เข้ามาเลี้ยงภายในโรงเรือน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การติดต่อโรคในแนวดิ่ง (จากแม่สู่ลูก)

  • โรคติดต่อบางชนิด

   สามารถติดต่อแพร่กระจายจากแม่สู่ลูก ผ่านทางกระแสเลือดได้

  • การจัดการให้พ่อ-แม่พันธุ์ปลอดโรค

   ถือเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนแรกที่จะความคุมโรคติดต่อในไก่ไข่ทั่วโลก

  • พ่อ-แม่พันธุ์ Hy-Line

   ทุกตัวอยู่ภายใต้การดูแลจาก Hy-Line International ซึ่งสามารถมั่นใจได้ว่าปลอดเชื้อ Mycoplasma gallisepticum, Mycoplasma synoviae, Salmonella pullorum, Salmonella gallinarum, Salmonella enteritidis, Salmonella typhimurium และ lymphoid leukosis

 

โรคบิด

          เป็นโรคที่มีอาการติดเชื้อในบริเวณลำไส้ การติดเชื้อบิดอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายของอวัยวะระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในลำไส้ ในกรณีที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรงสามารถส่งผลให้ไก่ตายได้

  • ใช้ ionophores หรือสารเคมี ในช่วง step-down ของโปรแกรม เพื่อให้มั่นใจว่าฝูงไก่มีภูมิคุ้มกันต้านทางเชื้อบิด
  • การใช้วัคซีนเชื้อเป็น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับใช้ในการป้องกัน นอกจากการใช้ยากันบิด
  • การทำวัคซีนบิดเชื้อเป็นโดยส่วนใหญ่จะผ่านการสเปรย์วัคซีนมาจากโรงฟัก หรือทำการผสมลงในอาหาร/น้ำให้ไก่กินในช่วงระยะกก
  • การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคภายในโรงเรือนที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเชื้อบิดภายในโรงเรือนจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งได้
  • ป้องกันไม่ให้ไก่สัมผัสกับสายพานลากมูลโดยตรง
  • การเลี้ยงไก่ในกรง สามารถลดความเสี่ยงที่ฝูงไก่จะสัมผัสไข่บิด (coccidia oocytes) ที่อยู่ในมูลได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการทำวัคซีน

การทำวัคซีน

                ปัจจุบันโรคในสัตว์ปีกหลายหลายชนิดได้มีการแพร่กระจายอยู่ทุกพื้นที่ของโลก ซึ่งในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละภูมิภาคของโลกก็จะมีการแพร่กระจายของโรคแตกต่างกันไป ซึ่งเป็นการยากที่จะทำลายเชื้อเหล่านั้นให้หมดไป ดังนั้นโปรแกรมการทำวัคซีนจึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคชนิดต่างๆให้แก่ฝูงสัตว์ปีก ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เชิงพานิชโดยทั่วไปจะมีการทำวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญดังต่อไปนี้  Newcastle Disease (NDV), infectious bronchitis (IB), Infectious Bursal Disease (IBD หรือ Gumboro), Avian Encephalomyelitis (AE) และ Fowl Pox

โปรแกรมการทำวัคซีนพื้นฐาน

               
     
 
     
 
       
       
   

[Type a quote from the document or the summary of an interesting point. You can position the text box anywhere in the document. Use the Text Box Tools tab to change the formatting of the pull quote text box.]

 
 
 

สำหรับพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดขั้นรุนแรง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

·  ฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียว เนื่องจากเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง

 

·   

 

·  ฉีดวัคซีน ILT จำนวน 2 ครั้ง

·  ใช้เทคนิคการหยอดตา

·  ห้ามทำวัคซีน ILT ในกรณีที่ทำวัคซีนเชื้อเป็นชนิดอื่นอยู่ ซึ่งมีระยะห่างกันไม่ถึง 7 วัน

·  ส่วนใหญ่จะพบการ outbreaks ของโรคในกรณีที่มีการใช้เทคนิคในการทำวัคซีนที่ไม่มีประสิทธิภาพ

·  ในโรงฟักบางแห่งอาจมีการฉีดวัคซีน  ILT-HVT ให้กับลูกไก่ตั้งแต่แรกเกิด

·  ใช้วัคซีนรวม  ILT-Pox

 

·  ฉีดวัคซีน Fowl Cholera จำนวน 2 ครั้ง โดยเว้นระยะห่างกัน 4 สัปดาห์

·  ในบางกรณีอาจมีการใช้วัคซีน Autogenous vaccines สายพันธุ์ที่ระบาดในท้องถิ่น

·  วัคซีนอหิวาต์เชื้อเป็นที่นิยมใช้คือ สายพันธุ์ M-9 หรือ PM-1

 

·  ฉีดวัคซีน Coryza จำนวน 2 ครั้ง โดยเว้นระยะห่างกัน 4 สัปดาห์

·  ในบางกรณีอาจมีการใช้วัคซีน Autogenous vaccines สายพันธุ์ที่ระบาดในท้องถิ่น

 

โปรแกรมการทำวัคซีนพื้นฐาน (ต่อ) การประยุกต์ใช้โปรแกรมการทำวัคซีนในไก่ไข่

ชนิดเชื้อตาย

 

·  การใช้วัคซีน MG ชนิดเชื้อตาย ส่วนใหญ่จะทำร่วมกับวัคซีน ND/IB

 

 

ชนิดเชื้อเป็น

 

·  การใช้วัคซีน MG ชนิดเชื้อเป็น สามารถลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดของ            MG ได้

·  สเตรนที่นิยมใช้คือ TS-11, 6 / 85 และ F

·  การใช้ MG สเตรน F จะสำหรับป้องกันการระบาดขั้นรุนแรง

 

·   

 

·  สามารถใช้ได้ทั้งชนิดเชื้อเป็น และเชื้อตาย

·  โปรแกรมวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือการใช้ร่วมกันระหว่างวัคซีน Avian Pneumovirus ชนิดเชื้อเป็นและเชื้อตาย

 

·   

 

วัคซีนเชื้อตาย – ฉีดใต้เข้ากล้ามเนื้อ, ฉีดใต้ผิวหนัง

 

วัคซีนเชื้อเป็น - แทงปีก

 

วัคซีนเชื้อเป็น – ละลายน้ำ, สเปรย์ หรือ หยอดตา

 

วัคซีนเชื้อเป็น ทำในโรงฟัก - ฉีดใต้ผิวหนัง

 

                                                                                      

 

เป็นการนำ protective gene ของ ILT มาแทรกลงในยีนส์ของ HVT virus

· ลดปริมาณการทำวัคซีนเชื้อเป็นในภาคสนาม

 

 

·  

 

เป็นการนำ protective gene ของ NDV มาแทรกลงในยีนส์ของ HVT virus โดยใช้เทคนิคfusion protein และ neuraminidase

· ลดปริมาณการทำวัคซีนเชื้อเป็นในภาคสนาม

· การใช้วัคซีนเชื้อตายสามารถทำการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของโรคได้ในระยะยาว

 

·  

 

เป็นการนำ protective gene ของ IBD (VP2) มาแทรกลงในยีนส์ของ HVT virus

· ไม่จำจัดเขตุภูมิภาคของการเกิดโรค

· ไม่ได้รับผลกระทบจากภูมิคุ้มกันจากแม่

 

·  

 

โปรแกรมการทำวัคซีนพื้นฐาน (ต่อ) การใช้วัคซีนรวมเพื่อความสะดวกในการใช้งานในโรงฟัก

วัคซีนเชื้อตาย – ฉีดใต้เข้ากล้ามเนื้อ, ฉีดใต้ผิวหนัง

 

วัคซีนเชื้อเป็น - แทงปีก

 

วัคซีนเชื้อเป็น – ละลายน้ำ, สเปรย์ หรือ หยอดตา

 

วัคซีนเชื้อเป็น ทำในโรงฟัก - ฉีดใต้ผิวหนัง

 

                                          

 

 

 

 

 

 

ประสิทธิภาพการผลิตมาตรฐาน ของไก่ไข่สายพันธุ์ Hy-Line Brown

อายุ
(สัปดาห์)

% HEN-DAY
ที่ยอมรับได้

HEN-DAY EGGS สะสม

HEN-HOUSED EGGS สะสม

อัตราการตาย
สะสม (%)

น้ำหนักตัว (kg)

อัตราการกิน (กรัม /วัน/ตัว)

HEN- HOUSED น้ำหนักไข่รวม (kg)

น้ำหนักไข่เฉลี่ย (กรัม/ฟอง)

18

4 – 14

0.3 – 1.0

0.3 – 1.0

0.0

1.47 – 1.57

82 – 88

0.0

48.8 – 50.0

19

24 – 38

2.0 – 3.6

2.0 – 3.6

0.1

1.57 – 1.67

85 – 91

0.1

49.0 – 51.0

20

45 – 72

5.1 – 8.7

5.1 – 8.7

0.1

1.63 – 1.73

91 – 97

0.3

50.2 – 52.2

21

75 – 86

10.4 – 14.7

10.3 – 14.7

0.2

1.67 – 1.77

95 – 101

0.5

51.5 – 53.6

22

87 – 92

16.5 – 21.1

16.4 – 21.1

0.3

1.72 – 1.82

99 – 105

0.9

53.1 – 55.3

23

92 – 94

22.9 – 27.7

22.8 – 27.7

0.3

1.75 – 1.85

103 – 109

1.2

54.4 – 56.6

24

92 – 95

29.3 – 34.4

29.2 – 34.3

0.4

1.78 – 1.90

105 – 111

1.6

55.5 – 57.7

25

93 – 95

35.8 – 41.0

35.7 – 40.9

0.4

1.79 – 1.91

106 – 112

2.0

56.6 – 59.0

26

94 – 96

42.4 – 47.7

42.3 – 47.6

0.5

1.80 – 1.92

107 – 113

2.3

57.3 – 59.7

27

95 – 96

49.1 – 54.5

48.9 – 54.3

0.6

1.82 – 1.94

107 – 113

2.7

58.4 – 60.8

28

95 – 96

55.7 – 61.2

55.5 – 60.9

0.6

1.83 – 1.95

107 – 113

3.1

59.0 – 61.4

29

95 – 96

62.4 – 67.9

62.1 – 67.6

0.7

1.84 – 1.96

107 – 113

3.5

59.3 – 61.7

30

94 – 96

69.0 – 74.6

68.6 – 74.3

0.7

1.84 – 1.96

107 – 113

3.9

59.7 – 62.1

31

94 – 96

75.5 – 81.3

75.1 – 80.9

0.8

1.84 – 1.96

108 – 114

4.3

59.9 – 62.3

32

94 – 95

82.1 – 88.0

81.7 – 87.5

0.9

1.85 – 1.97

108 – 114

4.7

60.1 – 62.5

33

94 – 95

88.7 – 94.6

88.2 – 94.1

0.9

1.85 – 1.97

108 – 114

5.1

60.3 – 62.7

34

94 – 95

95.3 – 101.3

94.7 – 100.7

1.0

1.85 – 1.97

108 – 114

5.5

60.5 – 62.9

35

94 – 95

101.9 – 107.9

101.2 – 107.3

1.0

1.85 – 1.97

108 – 114

5.9

60.6 – 63.0

36

93 – 94

108.4 –114.5

107.6 – 113.8

1.1

1.86 – 1.98

108 – 114

6.3

60.7 – 63.1

37

93 – 94

114.9 – 121.1

114.1 – 120.3

1.2

1.86 – 1.98

108 – 114

6.7

60.8 – 63.2

38

93 – 94

121.4 – 127.7

120.5 – 126.8

1.2

1.86 – 1.98

108 – 114

7.1

60.9 – 63.3

39

92 – 93

127.8 – 134.2

126.9 – 133.2

1.3

1.87 – 1.99

108 – 114

7.5

61.0 – 63.4

40

92 – 93

134.3 – 140.7

133.2 – 139.6

1.4

1.87 – 1.99

108 – 114

7.9

61.1 – 63.5

41

91 – 93

140.6 – 147.2

139.5 – 146.0

1.4

1.87 – 1.99

108 – 114

8.3

61.2 – 63.6

42

91 – 92

147.0 – 153.7

145.8 – 152.4

1.5

1.88 – 2.00

108 – 114

8.7

61.3 – 63.9

43

90 – 92

153.3 – 160.1

152.0 – 158.7

1.6

1.88 – 2.00

108 – 114

9.1

61.5 – 64.1

44

90 – 92

159.6 – 166.5

158.1 – 165.0

1.6

1.88 – 2.00

108 – 114

9.5

61.6 – 64.2

45

89 – 91

165.8 – 172.9

164.3 – 171.3

1.7

1.89 – 2.01

107 – 113

9.9

61.6 – 64.2

46

89 – 91

172.1 – 179.3

170.4 – 177.6

1.8

1.89 – 2.01

107 – 113

10.3

61.7 – 64.3

47

88 – 90

178.2 – 185.6

176.4 – 183.7

1.9

1.89 – 2.01

107 – 113

10.6

61.8 – 64.4

48

88 – 90

184.4 – 191.9

182.5 – 189.9

1.9

1.89 – 2.01

107 – 113

11.0

61.9 – 64.5

49

88 – 90

190.5 – 198.2

188.5 – 196.1

2.0

1.89 – 2.01

107 – 113

11.4

62.0 – 64.6

50

88 – 89

196.7 – 204.4

194.5 – 202.2

2.1

1.89 – 2.01

107 – 113

11.8

62.1 – 64.7

51

87 – 89

202.8 – 210.6

200.5 – 208.3

2.1

1.89 – 2.01

106 – 112

12.2

62.1 – 64.7

52

87 – 89

208.9 – 216.9

206.4 – 214.4

2.2

1.89 – 2.01

106 – 112

12.5

62.2 – 64.8

53

87 – 88

215.0 – 223.0

212.4 – 220.4

2.3

1.89 – 2.01

106 – 112

12.9

62.2 – 64.8

54

87 – 88

221.1 – 229.2

218.3 – 226.4

2.3

1.89 – 2.01

106 – 112

13.3

62.2 – 64.8

55

86 – 88

227.1 – 235.3

224.2 – 232.4

2.4

1.90 – 2.02

106 – 112

13.7

62.2 – 64.8

56

86 – 87

233.1 – 241.4

230.1 – 238.4

2.5

1.90 – 2.02

106 – 112

14.0

62.3 – 64.9

57

85 – 87

239.1 – 247.5

235.9 – 244.3

2.6

1.90 – 2.02

106 – 112

14.4

62.3 – 64.9

58

85 – 87

245.0 – 253.6

241.7 – 250.2

2.6

1.90 – 2.02

106 – 112

14.8

62.3 – 64.9

59

85 – 87

251.0 – 259.7

247.5 – 256.1

2.7

1.90 – 2.02

106 – 112

15.1

62.4 – 65.0

60

84 – 86

256.8 – 265.7

253.2 – 262.0

2.8

1.90 – 2.02

106 – 112

15.5

62.4 – 65.0

ประสิทธิภาพการผลิตมาตรฐาน ของไก่ไข่สายพันธุ์ Hy-Line Brown (ต่อ)

อายุ
(สัปดาห์)

% HEN-DAY
ที่ยอมรับได้

HEN-DAY EGGS สะสม

HEN-HOUSED EGGS สะสม

อัตราการตาย
สะสม (%)

น้ำหนักตัว (kg)

อัตราการกิน (กรัม /วัน/ตัว)

HEN- HOUSED น้ำหนักไข่รวม (kg)

น้ำหนักไข่เฉลี่ย (กรัม/ฟอง)

61

84 – 86

262.7 – 271.7

258.9 – 267.8

2.9

1.90 – 2.02

106 – 112

15.9

62.5 – 65.1

62

83 – 86

268.5 – 277.8

264.5 – 273.7

2.9

1.90 – 2.02

106 – 112

16.2

62.5 – 65.1

63

83 – 85

274.3 – 283.7

270.1 – 279.4

3.0

1.90 – 2.02

106 – 112

16.6

62.6 – 65.2

64

83 – 85

280.1 – 289.7

275.8 – 285.2

3.1

1.90 – 2.02

106 – 112

16.9

62.6 – 65.2

65

83 – 85

286.0 – 295.6

281.4 – 291.0

3.2

1.90 – 2.02

106 – 112

17.3

62.7 – 65.3

66

82 – 84

291.7 – 301.5

286.9 – 296.6

3.3

1.90 – 2.02

106 – 112

17.7

62.7 – 65.3

67

81 – 84

297.4 – 307.4

292.4 – 302.3

3.4

1.90 – 2.02

106 – 112

18.0

62.8 – 65.4

68

81 – 83

303.0 – 313.2

297.9 – 307.9

3.5

1.90 – 2.02

106 – 112

18.4

62.8 – 65.4

69

81 – 82

308.7 – 318.9

303.3 – 313.4

3.7

1.90 – 2.02

106 – 112

18.7

62.9 – 65.5

70

80 – 82

314.3 – 324.7

308.7 – 319.0

3.8

1.91 – 2.03

106 – 112

19.1

62.9 – 65.5

71

79 – 81

319.8 – 330.3

314.0 – 324.4

3.9

1.91 – 2.03

106 – 112

19.4

63.0 – 65.6

72

79 – 81

325.4 – 336.0

319.3 – 329.9

4.0

1.91 – 2.03

106 – 112

19.7

63.0 – 65.6

73

78 – 80

330.8 – 341.6

324.6 – 335.2

4.1

1.91 – 2.03

106 – 112

20.1

63.1 – 65.7

74

77 – 80

336.2 –347.2

329.7 – 340.6

4.3

1.91 – 2.03

106 – 112

20.4

63.1 – 65.7

75

76 – 79

341.5 – 352.7

334.8 – 345.9

4.4

1.91 – 2.03

106 – 112

20.7

63.2 – 65.8

76

76 – 78

346.9 – 358.2

339.9 – 351.1

4.5

1.91 – 2.03

106 – 112

21.1

63.2 – 65.8

77

75 – 77

352.1 – 363.6

344.9 – 356.2

4.7

1.91 – 2.03

106 – 112

21.4

63.3 – 65.9

78

75 – 77

357.4 – 369.0

349.9 – 361.3

4.8

1.91 – 2.03

106 – 112

21.7

63.3 – 65.9

79

74 – 77

362.5 – 374.4

354.8 – 366.5

5.0

1.91 – 2.03

106 – 112

22.0

63.4 – 66.0

80

74 – 76

367.7 – 379.7

359.7 – 371.5

5.1

1.91 – 2.03

106 – 112

22.4

63.5 – 66.1

81

74 – 76

372.9 – 385.0

364.6 – 376.5

5.3

1.91 – 2.03

106 – 112

22.7

63.5 – 66.1

82

74 – 76

378.1 – 390.3

369.5 – 381.6

5.4

1.91 – 2.03

106 – 112

23.0

63.5 – 66.1

83

73 – 75

383.2 – 395.6

374.4 – 386.5

5.6

1.91 – 2.03

106 – 112

23.3

63.6 – 66.2

84

73 – 75

388.3 – 400.8

379.2 – 391.5

5.7

1.91 – 2.03

106 – 112

23.6

63.6 – 66.2

85

73 – 75

393.4 – 406.1

384.0 – 396.4

5.9

1.91 – 2.03

106 – 112

23.9

63.6 – 66.2

86

73 – 75

398.5 – 411.3

388.8 – 401.4

6.0

1.91 – 2.03

106 – 112

24.2

63.6 – 66.2

87

72 – 74

403.6 – 416.5

393.5 – 406.2

6.2

1.91 – 2.03

106 – 112

24.5

63.7 – 66.3

88

72 – 74

408.6 – 421.7

398.2 – 411.1

6.3

1.91 – 2.03

106 – 112

24.9

63.7 – 66.3

89

72 – 74

413.6 – 426.9

402.9 – 415.9

6.5

1.91 – 2.03

106 – 112

25.2

63.7 – 66.3

90

72 – 74

418.7 – 432.0

407.7 – 420.7

6.6

1.91 – 2.03

106 – 112

25.5

63.7 – 66.3

*น้ำหนักไข่ภายหลังที่ไก่มีอายุ 40 สัปดาห์ จะถูกกำหนดให้เป็นระยะที่มีการให้อาหารโปรตีน เพื่อจำกัดขนาดของไข่

 

 

 

 

 

กราฟแสดงประสิทธิภาพการผลิตมาตรฐานของไก่ไข่สายพันธุ์ Hy-Line Brown

 

                                           

 

 

 

 

 

 

ประสิทธิภาพการผลิตมาตรฐานหลังการผลัดขน

อายุ
(สัปดาห์)

% HEN-DAY
ที่ยอมรับได้

HEN-DAY EGGS สะสม

HEN-HOUSED EGGS สะสม

อัตราการตาย
สะสม (%)

น้ำหนักตัว (kg)

อัตราการกิน (กรัม /วัน/ตัว)

HEN- HOUSED น้ำหนักไข่รวม (kg)

น้ำหนักไข่เฉลี่ย (กรัม/ฟอง)

69

0 – 0

299.2 – 309.4

294.1 – 304.2

3.7

1.71 – 1.81

– – –

18.0

70

0 – 0

299.2 – 309.4

294.1 – 304.2

3.9

1.74 – 1.84

0.0 – 0.0

18.0

71

0 – 0

299.2 – 309.4

294.1 – 304.2

4.1

1.77 – 1.87

0.0 – 0.0

18.0

72

12 – 15

300.0 – 310.4

294.9 – 305.2

4.2

1.81 – 1.91

85.0 – 95.0

18.1

64.0

73

38 – 41

302.7 – 313.3

297.4 – 307.9

4.3

1.85 – 1.95

90.0 – 100.0

18.2

64.1

74

62 – 65

307.0 – 317.8

301.6 – 312.3

4.4

1.86 – 1.96

95.0 – 105.0

18.5

64.2

75

76 – 79

312.3 – 323.4

306.7 – 317.6

4.5

1.87 – 1.97

100.0 – 110.0

18.8

64.3

76

80 – 83

317.9 – 329.2

312.0 – 323.1

4.6

1.88 – 1.98

103.0 – 113.0

19.2

64.4

77

82 – 85

323.7 – 335.1

317.5 – 328.8

4.7

1.88 – 1.98

104.0 – 114.0

19.5

64.5

78

85 – 87

329.6 – 341.2

323.1 – 334.6

4.9

1.88 – 1.98

105.0 – 115.0

19.9

64.6

79

85 – 87

335.6 – 347.3

328.8 – 340.4

5.0

1.88 – 1.98

106.0 – 116.0

20.2

64.7

80

85 – 87

341.5 – 353.4

334.4 – 346.1

5.1

1.89 – 1.99

107.0 – 117.0

20.6

64.8

81

86 – 88

347.5 – 359.6

340.1 – 352.0

5.2

1.89 – 1.99

107.0 – 117.0

21.0

64.9

82

86 – 88

353.5 – 365.7

345.8 – 357.8

5.4

1.90 – 2.00

108.0 – 118.0

21.3

65.0

83

85 – 87

359.5 – 371.8

351.5 – 363.6

5.5

1.90 – 2.00

108.0 – 118.0

21.7

65.1

84

85 – 87

365.4 – 377.9

357.1 – 369.3

5.7

1.90 – 2.00

109.0 – 119.0

22.1

65.1

85

84 – 87

371.3 – 384.0

362.6 – 375.0

5.8

1.91 – 2.01

109.0 – 119.0

22.4

65.2

86

84 – 87

377.2 – 390.1

368.1 – 380.8

6.0

1.91 – 2.01

110.0 – 120.0

22.8

65.2

87

83 – 86

383.0 – 396.1

373.6 – 386.4

6.1

1.91 – 2.01

110.0 – 120.0

23.2

65.3

88

83 – 86

388.8 – 402.1

379.0 – 392.1

6.3

1.91 – 2.01

110.0 – 120.0

23.5

65.3

89

83 – 86

394.6 – 408.1

384.5 – 397.7

6.4

1.91 – 2.01

110.0 – 120.0

23.9

65.4

90

82 – 85

400.4 – 414.1

389.8 – 403.3

6.6

1.92 – 2.02

110.0 – 120.0

24.2

65.4

91

82 – 85

406.1 – 420.0

395.2 – 408.8

6.8

1.92 – 2.02

110.0 – 120.0

24.6

65.5

92

81 – 84

411.8 – 425.9

400.5 – 414.3

6.9

1.92 – 2.02

111.0 – 121.0

24.9

65.5

93

81 – 84

417.5 – 431.8

405.7 – 419.7

7.1

1.92 – 2.02

111.0 – 121.0

25.3

65.5

94

81 – 84

423.1 – 437.7

411.0 – 425.2

7.3

1.92 – 2.02

111.0 – 121.0

25.6

65.5

95

80 – 83

428.7 – 443.5

416.2 – 430.6

7.4

1.92 – 2.02

110.0 – 120.0

25.9

65.5

96

80 – 83

434.3 – 449.3

421.4 – 435.9

7.6

1.93 – 2.03

110.0 – 120.0

26.3

65.5

97

80 – 83

439.9 – 455.1

426.5 – 441.3

7.8

1.93 – 2.03

110.0 – 120.0

26.6

65.5

98

79 – 82

445.5 – 460.8

431.6 – 446.6

7.9

1.93 – 2.03

109.0 – 119.0

26.9

65.5

99

79 – 82

451.0 – 466.6

436.7 – 451.9

8.1

1.93 – 2.03

109.0 – 119.0

27.3

65.6

100

79 – 82

456.5 – 472.3

441.8 – 457.1

8.3

1.93 – 2.03

109.0 – 119.0

27.6

65.6

101

78 – 81

462.0 – 478.0

446.8 – 462.3

8.5

1.93 – 2.03

108.0 – 118.0

27.9

65.6

102

78 – 81

467.4 – 483.7

451.7 – 467.5

8.7

1.94 – 2.03

108.0 – 118.0

28.3

65.6

103

78 – 81

472.9 – 489.3

456.7 – 472.7

8.9

1.94 – 2.03

107.0 – 117.0

28.6

65.6

104

77 – 80

478.3 – 494.9

461.6 – 477.7

9.1

1.94 – 2.03

107.0 – 117.0

28.9

65.7

105

77 – 80

483.7 – 500.5

466.5 – 482.8

9.3

1.94 – 2.03

106.0 – 116.0

29.2

65.7

106

77 – 80

489.1 – 506.1

471.4 – 487.9

9.5

1.94 – 2.03

106.0 – 116.0

29.6

65.7

107

76 – 79

494.4 – 511.7

476.2 – 492.9

9.7

1.94 – 2.04

105.0 – 115.0

29.9

65.7

108

76 – 79

499.7 – 517.2

481.0 – 497.9

9.9

1.95 – 2.05

105.0 – 115.0

30.2

65.7

109

76 – 79

505.0 – 522.7

485.5 – 502.8

10.1

1.95 – 2.05

104.0 – 114.0

30.5

65.7

110

76 – 79

510.3 – 528.3

490.5 – 507.8

10.4

1.95 – 2.05

104.0 – 114.0

30.8

65.7

กราฟแสดงประสิทธิภาพการผลิตมาตรฐานหลังการผลัดขน ของไก่ไข่สายพันธุ์ Hy-Line Brow

 

มาตรฐานด้านคุณภาพและขนาดของไข่

การให้คะแนนสีของเปลือกไข่

 

มาตรฐานด้านคุณภาพและขนาดของไข่ (ต่อ)

อายุ
(สัปดาห์)

HAUGH UNITS

ความแข็งของเปลือก

สีเปลือก

 

การแบ่งขนาดของไข่ ตามมาตรฐานสหภาพยุโรป

 

อายุ
(สัปดาห์)

น้ำหนักไข่เฉลี่ย (g)

   % ไข่ขนาดใหญ่พิเศษ >73 g

% ไข่ขนาดใหญ่
63–73 g

% ไข่ขนาดกลาง
53–63 g

% ไข่ขนาดเล็ก
43–53 g

20

97.8

4605

89

 

20

51.2

0.0

0.0

21.7

78.3

22

97.0

4590

89

 

22

54.2

0.0

0.0

69.9

30.1

24

96.0

4580

89

 

24

56.6

0.0

0.3

93.9

5.9

26

95.1

4570

88

 

26

58.5

0.0

2.5

96.6

0.8

28

94.2

4560

88

 

28

60.2

0.0

11.2

88.7

0.1

30

93.3

4540

88

 

30

60.9

0.0

18.1

81.9

0.0

32

92.2

4515

88

 

32

61.3

0.0

23.9

76.0

0.0

34

91.5

4490

88

 

34

61.7

0.0

29.4

70.6

0.0

36

90.6

4450

87

 

36

61.9

0.0

32.3

67.7

0.0

38

90.0

4425

87

 

38

62.1

0.0

35.9

64.0

0.0

40

89.3

4405

87

 

40

62.3

0.0

39.0

61.0

0.0

42

88.5

4375

87

 

42

62.6

0.0

43.9

56.1

0.0

44

87.8

4355

87

 

44

62.9

0.0

48.5

51.5

0.0

46

87.1

4320

87

 

46

63.0

0.0

50.0

50.0

0.0

48

86.4

4305

87

 

48

63.2

0.0

52.8

47.1

0.0

50

85.6

4280

86

 

50

63.4

0.0

55.5

44.5

0.0

52

85.0

4250

86

 

52

63.5

0.1

56.5

43.5

0.0

54

84.6

4225

86

 

54

63.5

0.1

56.5

43.4

0.0

56

84.0

4190

85

 

56

63.6

0.1

57.3

42.6

0.0

58

83.1

4170

85

 

58

63.6

0.2

57.3

42.5

0.0

60

82.6

4150

85

 

60

63.7

0.3

58.2

41.5

0.0

62

82.2

4130

84

 

62

63.8

0.4

59.0

40.6

0.0

64

81.9

4110

83

 

64

63.9

0.6

59.7

39.8

0.0

66

81.6

4095

83

 

66

64.0

0.9

60.3

38.9

0.0

68

81.5

4085

82

 

68

64.1

1.1

60.4

38.4

0.0

70

81.1

4075

81

 

70

64.2

1.6

60.4

38.0

0.0

72

81.0

4065

81

 

72

64.3

1.9

60.8

37.3

0.0

74

80.8

4055

80

 

74

64.4

2.6

60.7

36.7

0.0

76

80.5

4040

80

 

76

64.5

3.1

60.7

36.2

0.0

78

80.2

4020

80

 

78

64.6

4.0

60.4

35.6

0.0

80

80.1

3995

80

 

80

64.8

5.1

59.9

35.1

0.0

82

80.0

3985

79

 

82

64.8

5.9

59.1

34.9

0.0

84

79.9

3975

79

 

84

64.9

6.9

58.3

34.8

0.0

86

79.8

3965

79

 

86

64.9

8.1

57.1

34.8

0.0

88

79.7

3960

79

 

88

65.0

9.2

56.3

34.4

0.0

90

79.7

3955

79

 

90

65.0

10.3

55.2

34.4

0.0

มาตรฐานด้านคุณภาพและขนาดของไข่ (ต่อ)

การแบ่งขนาดของไข่ ตามมาตรฐานสหรัฐอเมริกา

อายุ
(สัปดาห์)

น้ำหนักไข่เฉลี่ย (ปอนด์/ลัง)

% ไข่ขนาดจัมโบ
มากกว่า 30 ออนซ์ / โหล

%ไข่ขนาดใหญ่พิเศษ
27–30 ออนซ์ / โหล

% ไข่ขนาดใหญ่
24–27 ออนซ์ / โหล

% ไข่ขนาดกลาง
21–24ออนซ์ / โหล

% ไข่ขนาดเล็ก
18–21 ออนซ์ / โหล

20

40.63

0.0

0.0

0.8

74.8

24.3

22

43.02

0.0

0.0

14.0

83.8

2.3

24

44.92

0.0

0.1

48.2

51.6

0.1

26

46.43

0.0

1.1

77.2

21.7

0.0

28

47.78

0.0

5.9

87.7

6.4

0.0

30

48.33

0.0

10.5

86.2

3.4

0.0

32

48.65

0.0

15.0

82.3

2.8

0.0

34

48.97

0.0

19.2

79.0

1.9

0.0

36

49.13

0.0

21.5

76.9

1.5

0.0

38

49.29

0.0

24.9

73.6

1.4

0.0

40

49.44

0.0

27.5

71.2

1.3

0.0

42

49.68

0.1

32.3

66.5

1.2

0.0

44

49.92

0.1

36.5

62.5

1.0

0.0

46

50.00

0.2

38.3

60.5

1.0

0.0

48

50.16

0.3

41.4

57.4

0.9

0.0

50

50.32

0.4

44.1

54.7

0.8

0.0

52

50.40

0.6

45.5

53.3

0.7

0.0

54

50.40

0.7

45.5

53.2

0.7

0.0

56

50.48

0.9

46.5

51.9

0.7

0.0

58

50.48

1.2

46.5

51.7

0.7

0.0

60

50.56

1.5

47.5

50.4

0.6

0.0

62

50.63

1.9

48.3

49.3

0.6

0.0

64

50.71

2.6

48.6

48.2

0.6

0.0

66

50.79

3.2

49.5

46.8

0.6

0.0

68

50.87

3.7

49.5

46.1

0.6

0.0

70

50.95

4.8

49.6

45.2

0.5

0.0

72

51.03

5.4

49.6

44.5

0.5

0.0

74

51.11

6.6

49.1

43.7

0.5

0.0

76

51.19

7.4

49.1

43.1

0.5

0.0

78

51.27

8.7

48.4

42.6

0.4

0.0

80

51.43

10.3

48.0

41.3

0.4

0.0

82

51.43

11.3

47.0

41.2

0.4

0.0

84

51.51

12.7

46.0

40.9

0.4

0.0

86

51.51

13.7

45.2

40.8

0.3

0.0

88

51.59

15.0

44.0

40.7

0.3

0.0

90

51.59

15.9

43.1

40.6

0.3

0.0

 

 

กราฟแสดงการแบ่งขนาดของไข่ตามมาตรฐาน E.U. และ U.S.

 

 

ตารางแสดงวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารสัตว์

 

ตารางแสดงวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ (ต่อ)